๑. ชื่อหลักสูตร
(ภาษาไทย) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (ภาษาอังกฤษ) Bachelor of Arts Program in English
|
๒. ชื่อปริญญา
(ภาษาไทย) ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ) (ภาษาอังกฤษ) Bachelor of Arts (English)
|
ประเภทของหลักสูตร
|
หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
|
จำนวนหน่วยกิต
|
รวมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๑๔๔ หน่วยกิต
|
ระยะเวลาการศึกษา / วงรอบหลักสูตร
|
เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี (๔ ปี) ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๕๘
|
สถานภาพของหลักสูตร และกำหนดการเปิดสอน
|
๑) เป็นหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.๒๕๖๑ จากหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.๒๕๕๖) ๒) เริ่มใช้ในภาคการศึกษาที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๑ เป็นต้นไป
|
การให้ปริญญา
|
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
|
สถาบันผู้ประสาทปริญญา (ความร่วมมือกับสถาบันอื่น)
|
มหาวิทยาลัยมหิดล
|
องค์กรที่ให้การรับรองมาตรฐาน
|
เป้าหมาย / วัตถุประสงค์
Purpose / Goals / Objectives |
หลักสูตรมีเป้าหมายที่จะผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถทางภาษาอังกฤษ ในระดับสูงเพื่อไปประกอบอาชีพ และสร้างสรรค์ประโยชน์ให้กับสังคม และผลิตองค์ความรู้เพื่อนำเสนอข้อมูล และแก้ปัญหาด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้กับประเทศ
หลักสูตรจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างให้บัณฑิตมีคุณสมบัติดังนี้
๑) มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะ ในวิชาแกนทางภาษาอังกฤษ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
๒) มีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพในกลุ่มงานด้านวิชาการ กลุ่มงานฝ่ายต่างประเทศ กลุ่มงานแปล กลุ่มงานบริการ และกลุ่มงานสื่อสารมวลชน
๓) มีวิจารณญาณและความคิดสร้างสรรค์ บูรณาการความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษ เพื่อแก้ไขปัญหาและยกระดับคุณภาพชีวิตทั้งของตนเองและผู้อื่นได้
๔) ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ทั้งในฐานะผู้นำและสมาชิกของกลุ่ม เคารพความแตกต่างหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม
๕) มีทักษะการเรียนรู้และเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก
๖) มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ
|
ลักษณะเฉพาะของหลักสูตร
Distinctive Features |
๑) เป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษ ที่เน้นเรื่องการพัฒนาทักษะวิชาชีพ โดยมุ่งเน้น ๕ กลุ่มสาขาวิชาชีพ ได้แก่ กลุ่มงานด้านวิชาการ กลุ่มงานฝ่ายต่างประเทศ กลุ่มงานแปล กลุ่มงานบริการ และกลุ่มงานสื่อสารมวลชน
๒) มีรายวิชาหมวดศึกษาทั่วไปและเลือกเสรีในหมวดวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ซึ่งใช้จุดแข็งของมหาวิทยาลัยมหิดลในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพของประเทศ
๓) หลักสูตรได้บรรจุรายวิชาภาษาอังกฤษเฉพาะทาง ซึ่งมุ่งเน้นพัฒนาทักษะในวิชาชีพต่างๆ เช่น การบริการ การท่องเที่ยว และการสื่อสารมวลชน
|
ระบบการศึกษา
|
จัดการศึกษาแบบชั้นเรียนในระบบหน่วยกิตทวิภาค
|
อาชีพสามารถประกอบได้ |
๑. กลุ่มงานวิชาการ เช่น นักวิชาการ นักภาษาศาสตร์ นักพิสูจน์อักษร
๑. กลุ่มงานฝ่ายต่างประเทศ
๒. กลุ่มงานแปล เช่น นักแปล ล่าม
๓. กลุ่มงานบริการ เช่น มัคคุเทศก์ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน
๔. กลุ่มงานสื่อสารมวลชน เช่น นักข่าว ผู้ประกาศ คอลัมน์นิสต์ บรรณาธิการ
|
การศึกษาต่อ
|
ศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาสาขาต่างๆ ได้ อาทิ สาขาภาษาอันกฤษ วรรณคดีอังกฤษ วรรณคดีเปรียบเทียบ ภาษาศาสตร์ นิเทศศาสตร์ ครุศาสตร์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
|
ปรัชญาการศึกษา |
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ จัดการเรียนการสอนตามแนวคิด Constructivism โดยมุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน (Outcome-Baesd Education) เพื่อบัณฑิตให้มีคุณลักษณะสอดคล้องกับมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาอังกฤษ และคุณลักษณะบัณฑิตที่ประสงค์ของมหาวิทยาลัยมหิดล สื่อสารและแสดงออกทางภาได้ดี มีความรู้ความสามารถและทักษะในการบูรณาการความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษกับศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มีทักษะการเรียนรู้และเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก มีวิจารณญาณและความคิดสร้างสรรค์ มีคุณธรรมและจริยธรรม
|
กลยุทธ์ / แนวปฏิบัติ
ในการจัดการเรียนการสอน |
๑) ใช้การบรรยายเชิงปฏิสัมพันธ์ (Interactive lectures) และการอภิปราย/สัมมนา (Discussion/Seminar) เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาเชิงลึกและพัฒนาการคิดวิเคราะห์ และการคิดวิจารณญาณ
๒) ใช้การสาธิต (Demonstration) และการฝึกปฏิบัติ โดยมีผู้สอนให้คำแนะนำป้อนกลับ (feedback) เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะที่จำเป็น โดยเฉพาะทักษะด้านการสื่อสารในระดับต่าง ๆ ที่หลักสูตรกำหนด
๓) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem based learning) และการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา (Case-based learning) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ในสถานการณ์ที่กำหนดได้
๔) ใช้การมอบหมายงานกลุ่มและการสังเกตพฤติกรรมเพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนทักษะการทำงานร่วมกับกลุ่มที่หลากหลาย
๕) ใช้การมอบหมายงานและการค้นคว้ารายบุคคล และการเรียนรู้แบบห้องเรียนผสมสาน (Blended classroom) เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรับผิดชอบและทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง
|
กลยุทธ์ / แนวปฏิบัติในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
|
มีทั้งการประเมินความก้าวหน้า (Formative Evaluation) และการประเมินรวบยอด (Summative Evaluation) โดยใช้วิธีต่าง ๆ เช่น การสอบข้อเขียน สอบปฏิบัติ รายงาน โครงงาน การนำเสนอผลงาน การสังเกตพฤติกรรม และแฟ้มสะสมงาน
|
Generic Competences |
๑. Communication (1) สื่อสารความรู้และความคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกสถานการณ์ ทั้งการสื่อสารในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ
๒. ICT: เลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและสืบค้นได้อย่างเหมาะสม
๓. Critical Thinking & Analysis ระบุปัญหา รวบรวมข้อมูล ค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจ และประเมินข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ และใช้เหตุผลเพื่อหาคำตอบหรือแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ที่กำหนดได้
๔. Creativity (1) : ใช้เทคนิคการคิดสร้างสรรค์แบบต่างๆ
๕. Collaboration: ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม รู้ เข้าใจ เคารพและยอมรับในความแตกต่างหลากหลายระหว่างบุคคล โดยเฉพาะในด้านสังคมวัฒนธรรม
๖. Ethics: แสดงออกซึ่งจรรยาบรรณวิชาชีพและพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมที่สมาชิกที่มีคุณค่าของสังคมพึงมี
๗. Global Awareness : รู้เท่าทันสถานการณ์สังคมโลก และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน
|
Subject-specific Competences
|
๑. อธิบายทฤษฎีและความรู้ศิลปศาสตร์ด้านหลักภาษาอังกฤษ ภาษาศาสตร์ภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร วรรณกรรมอังกฤษ วิเคราะห์ วิจารณ์ และอภิปรายประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้อง ทำวิจัยพื้นฐาน และประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อประกอบอาชีพได้
๒. การสื่อสาร (๒) เลือกใช้รูปแบบของการสื่อสารภาษาอังกฤษที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มบุคคลและสื่อที่แตกต่างกันได้
๓. Creativity & Integration: ผลิตงานสร้างสรรค์ทางภาษาและวรรณกรรม บูรณาการความรู้ทางภาษา วรรณกรรม กับศาสตร์อื่น ๆ เพื่อแก้ไขปัญหา ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้
๔. Ethics (2): ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษเพื่อวิเคราะห์เหตุการณ์ ปัญหาทั่วไปและทางวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรม และสังเคราะห์แนวปฏิบัติที่เหมาะสม
๕. Lifelong–Learning (2): ติดตามงานวิจัยและองค์ความรู้ใหม่ในด้านหลักภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ภาษาศาสตร์ภาษาอังกฤษ วรรณกรรมอังกฤษ เพื่อสร้างความรู้ใหม่
|
PLOs |
PLO1 ประยุกต์ใช้ภาษาอังกฤษ ทั้งสี่ทักษะ (ฟัง พูด อ่าน เขียน) ในงานด้านวิชาการ งานต่างประเทศ งานแปล งานบริการ และงานสื่อสารมวลชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
PLO2 ประยุกต์ใช้ภาษาอังกฤษเฉพาะทางได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เช่น ภาษาอังกฤษธุรกิจ ภาษาอังกฤษสำหรับสิ่งพิมพ์ ภาษาอังกฤษสำหรับการท่องเที่ยว เป็นต้น
PLO3 ประยุกต์ทฤษฎีการแปลในการแปลเอกสารหรือบทพูดจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ และจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ตลอดจนวิเคราะห์ และแก้ไขบทแปลได้อย่างถูกต้องตามหลักการแปล
PLO4 วิเคราะห์ ตีความและวิพากษ์วรรณกรรมภาษาอังกฤษประเภทต่างๆ ได้
PLO5 ประยุกต์ความรู้ทางภาษาศาสตร์ในการอธิบาย วิเคราะห์ และแก้ไขความผิดพลาดในการใช้ภาษาอังกฤษ และปรากฏการณ์ของภาษาอังกฤษ ได้แก่ สัทศาสตร์ สรวิทยา วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ อรรถศาสตร์ ภาษาศาสตร์สังคม และวัจนปฏิบัติศาสตร์
PLO6 วิพากษ์สถานการณ์และปัญหาของตนเองและสังคมได้อย่างเป็นระบบ โดยประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านศิลปศาสตร์
PLO7 ผลิตงานสร้างสรรค์ด้านภาษาและวรรณกรรมอังกฤษที่มีคุณค่า โดยบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
PLO8 ประยุกต์ใช้ข้อมูลสารสนเทศในบริบทชีวิตประจำวัน การศึกษา และการประกอบอาชีพ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีจริยธรรม
PLO9 ตระหนักถึงคุณธรรมและจริยธรรมที่เหมาะสมในการศึกษาและการประกอบอาชีพ ในกลุ่มวิชาการ งานต่างประเทศ งานแปล งานบริการ และงานสื่อสารมวลชน
|