คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โครงการประกวดเล่านิทานประจำท้องถิ่นภาคกลาง เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ 2565

โครงการประกวดเล่านิทานประจำท้องถิ่นภาคกลาง
เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ 2565

โดย ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์
ร่วมกับ สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยฯ

 

              เมื่อพิจารณาสถานการณ์การรับรู้และสนใจของประวัติศาสตร์และเรื่องเล่าท้องถิ่นอันเป็นที่มาของชื่อบ้านนามเมืองพบว่า เรื่องดังกล่าวเป็นความสนใจเฉพาะกลุ่มอยู่ในวงจำกัด ส่วนใหญ่จะรับรู้แค่เฉพาะในห้องเรียนซึ่งการเรียนการสอนประวัติศาสตร์และเรื่องเล่าท้องถิ่นมีเฉพาะในบางโรงเรียนเท่านั้น การเปิดพื้นที่ให้ประวัติศาสตร์ ตำนานและเรื่องเล่าท้องถิ่นได้รับการเผยแพร่จึงเป็นสิ่งช่วยส่งเสริมการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตนเองให้ถูกรับรู้อีกครั้ง และเพื่อประชาสัมพันธ์ท้องถิ่นต่างๆ ในพื้นที่ภาคกลางให้เป็นที่รู้จักผ่านการการเล่านิทานท้องถิ่นภาคกลาง ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา ร่วมกับ สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้จัดโครงการประกวดเล่านิทานประจำท้องถิ่นภาคกลาง เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ 2565 ขึ้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และเรื่องเล่าของท้องถิ่นผ่านนิทานท้องถิ่นอันเป็นที่มาของชื่อบ้านนามเมือง รวมทั้งการมีเวทีในการแสดงออกสู่สาธารณะ อันก่อให้เกิดนักพูดหน้าใหม่ที่มีคุณภาพ

              การประกวดเล่านิทานท้องถิ่นภาคกลาง โดยใช้เรื่องเล่าหรือตำนานที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นและชื่อบ้านนามเมืองของท้องถิ่นแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 1. ระดับประถมศึกษา 2. ระดับมัธยมศึกษา และ 3. ระดับอุดมศึกษา โดยมีเยาวชน นักเรียนและนักศึกษาในพื้นที่จังหวัดภาคกลาง (โดยใช้ขอบข่ายการแบ่งตามสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคกลาง ครอบคลุมพื้นที่ 35 จังหวัด ได้แก่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี สระบุรี ชัยนาท ลพบุรี กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี ราชบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครนายก ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี ตราดและสระแก้ว เป็นกลุ่มเป้าหมาย

              ทั้งนี้ มีผู้ส่งผลงานเข้าประกวดเล่านิทานท้องถิ่นภาคกลาง จำนวนทั้งสิ้น 70 คน (70ผลงาน) จาก 18 จังหวัดภาคกลาง คือ กำแพงเพชร พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี เพชรบูรณ์ สิงห์บุรี ประจวบคีรีขันธ์ พิษณุโลก ราชบุรี สมุทรปราการ ชลบุรี พิจิตร สุโขทัย สระบุรี นนทบุรี นครสวรรค์ ปทุมธานี นครปฐม กรุงเทพฯ

ระดับประถมศึกษา

รางวัลชนะเลิศ                                                                         เด็กหญิงชณิสรา ตรังค์เอื้อสันติ         <<รับชม>>

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ และรางวัลขวัญใจประชาชน     เด็กชายปฐวี  พุททองศรี                      <<รับชม>>

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒                                                   เด็กหญิงปารมิตา  สุขทรามร               <<รับชม>>

ระดับมัธยมศึกษา

รางวัลชนะเลิศ                                                                          นางสาวกรกนก  อุมดมชัย                   <<รับชม>>

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ และรางวัลขวัญใจประชาชน     เด็กชายปิติภูมิ  การะเกษ                      <<รับชม>>

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒                                                    นายปวริศ  บูระพันธ์                              <<รับชม>>

ระดับอุดมศึกษา

รางวัลชนะเลิศ                                                                          นายธรรมรัตน์ หรั่งเจริญ                     <<รับชม>>

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑                                                     นางสาวจิราพัชร ฟักรักษา                  <<รับชม>>

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ และรางวัลขวัญใจประชาชน      นายพลวัฒน์ ศรีเทพ                           <<รับชม>>