คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โครงการ TIC Forum ครั้งที่ 2/2559 “งานแปลกฎหมาย ควรรู้อะไร?”

ศูนย์การแปลและการล่าม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การเสวนาวิชาการ TIC Forum ครั้งที่ 2/2559 หัวข้อ “งานแปลกฎหมาย ควรรู้อะไร” บรรยายโดยดร.เดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความในพระบรมราชูถัมภ์  จัดขึ้นในวันอังคารที่ 12 กรกฎาคม 2559 เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ ห้องสมุดคณะศิลปศาสตร์ ชั้น 2 อาคารสิริวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

จากการเสวนาสามารถสรุปความรู้ด้านการการแปลกฎหมาย โดยแบ่งเป็นประเด็นได้ดังนี้
คุณลักษณะของนักแปล
รู้จักตัวเอง
  1. ต้องเป็นผู้ที่ชอบการอ่าน
  2. ต้องเป็นผู้มีความคิดผสมผสานอย่างต่อเนื่อง ต้องเป็นผู้ที่เชื่อมโยง รู้จักปรับภาษาตามบริบทและประเภทของต้นฉบับ เช่น การใช้คำว่า shall, must, may, ought ซึ่งมีความหมายตามบริบทกฎหมายแตกต่างกัน รู้ศัพท์เฉพาะทาง เช่น WiFi Digital Society คำที่ไม่มีการบรรญัติไว้อาจต้องสร้างคำนิยามขึ้นใหม่ด้วยการขยายความหรือทับศัพท์ ควรรู้ที่มาของศัพท์เฉพาะทาง ในทางกฎหมาย ศัพท์ที่ยังไม่มีความหมายที่ตรงตัวทำให้การสร้างคำนิยามเป็นไปได้ยาก ดังนั้นผู้แปลควรต้องเรียนรู้ที่มาของคำและการปรับเปลี่ยนภาษา
  3. ต้องเป็นผู้ที่มีความอดทน และขยัน
  4. ต้องเป็นผู้ที่ชอบการสื่อสารด้วยภาษา
การสร้างทักษะของการเป็นนักแปลที่ดีที่มีความสามารถ

การเตรียมความพร้อม
อ่านเอกสารที่แปลอย่างระมัดระวังให้เข้าใจทั้งหมด และไม่ควรอ่านไปแปลไปเพราะอาจเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ จึงควรมีอุปกรณ์พร้อมเพื่อค้นคว้าติดตัวเสมอ

  • เตรียมถ้อยคำ ภาษาที่จะใช้ด้วยความระมัดระวัง

– แปลความหมาย ไม่ใช่แปลถ้อยคำ ควรหาข้อมูลนอกเหนือจากการใช้พจนานุกรม เพราะหากมีศัพท์เฉพาะทางอาจเกิดการแปลผิดได้ เช่น Dr. ควาหมายทั่วไปหมายถึงแพทย์ แต่ในทางบัญชีหมายถึงลูกหนี้และเจ้าหนี้ 

– รักษาลักษณะพิเศษของรูปแบบการแปล เนื่องจากภาษากฎหมายมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ ต้องแปลให้ความหมายถูกต้องและมีรูปแบบประโยคที่เหมาะสมกับภาษากฏหมาย

– มีความซื่อตรงต่อการจดทะเบียนของเอกสารต้นฉบับ ทำความเข้าใจว่าเป็นเอกสารประเภทไหนเพื่อแปลให้ตรงตามจุดประสงค์ของเอกสาร ใส่ใจเรื่องการเรียบเรียงประโยค การใช้คำศัพท์ที่อาจแตกต่างกันไปตามแต่บริบทหรือกฎหมายของประเทศนั้น เช่น plaintiff ที่แปลว่า โจทย์ในการฟ้องร้อง ใช้ในประเทศสหรัฐ ออสเตรเลียหรือฮ่องกง แต่ประเทศอังกฤษจะใช้คำว่า claimant เป็นต้น

– เข้าใจความคาดหมายของผู้ที่จะตอบรับผลงาน

– อย่าวิตกกังวลกับรายละเอียดมากเกินไป

  • ข้อพิจารณาในการทำงาน

– ถ้าไม่เชี่ยวชาญในการแปลด้านใดและไม่มั่นใจในความสามารถการแปล ไม่ควรรับงาน เพราะอาจส่งผลเสียต่องานแปลได้ ดังนั้น อย่ารับทำงานในสิ่งที่ไม่เชี่ยวชาญ

– ใช้เวลาอย่างเหมาะสม

– อ่านซ้ำใหม่เพื่อให้ภาษาแปลมีความราบรื่นและถูกต้อง แล้วอ่านอีกครั้งก่อนที่จะเป็นงานเสร็จสิ้นสมบูรณ์

– เรียนรู้จากข้อผิดพลาด

มาตรการสิบข้อของความสำเร็จในการเป็นนักแปลอาชีพ
  1. เริ่มต้นทำการตลาดให้กับตัวเองกับสำนักงานแปลต่างๆ และ/หรือกับลูกค้าผู้ต้องการติดต่อว่าจ้างโดยตรง
  2. ทำกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานทั้งระดับภูมิภาค ระดับภูมิประเทศและระดับระหว่างประเทศอย่างสม่ำเสมอ
  3. เป็นนักอ่านที่ดีโดยเฉพาะการเป็นนักแปลอิสระ ต้องรู้วิธีการหาตลาดให้ตัวเอง
  4. สร้างหรือขยายขอบเขตของการบริการให้กว้างขวาง โดยเฉพาะในปัจจุบัน การใช้เครื่องมือช่วยในการแปลที่สามารถทำงานให้รวดเร็วขึ้นจากการใช้ซอฟท์แวร์สำเร็จรูปต่างๆ
  5. รักษามาตรฐานของค่าบริการการแปล ไ
  6. หมั่นตรวจสอบเรื่องการเงิน ค่าจ้างที่ค้างชำระจากตัวแทนที่รับงานว่าจ้างมาเป็นปกติ
  7. เข้าอบรมเพื่อเพิ่มพูนและฝึกฝนความรู้และประสบการณ์ของการแปลในสาขาที่ท่านสนใจเป็นประจำ
  8. พิจารณาทำงานในวันหยุดนักขัตฤกษ์หรือวันหยุดประจำสัปดาห์ ซึ่งปกติจะมีการจัดประชุมวิชาชีพต่างๆ
  9. เตรียมรับงานหนักและความอดทน ซึ่งปกติต้องใช้เวลาเกินหนึ่งปี
  10. ทำให้ลูกค้าในปัจจุบันพอใจกับผลงานและความรวดเร็วในการตอบสนองความต้องการ
ตัวอย่างการแปลเอกสารกฎหมาย

หากแปลโดยใช้ภาษาทั่วไปที่ไม่เหมาะกับบริบททางกฎหมาย อาจทำให้ความหมายคลาดเคลื่อนได้ เช่นคำว่า Revenue Code Amendment หากหาความหมายทีละคำ จะได้ความหมายทั่วไปที่อาจทำให้ตีความผิดพลาด แต่ถ้าค้นหาความหมายโดยใช้ศัพท์ทางกฎหมาย Revenue Code เป็นหลัก จะได้ความหมายทั้งบริบทว่า พระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมาย

  1. ตัวอย่างการแปลคำนิยามทางกฎหมาย

    Juristic Person มีความหมายว่านิติบุคคล แต่มีความหมายแตกต่างกันไปตามแต่บริบท เช่น ในด้านภาษีมูลค่าเพิ่มมีความหมายกว้างกว่าหมวดภาษีรายได้บุคคล ดังนั้น ในการแปลกฎหมาย ควรกำหนดคำนิยามให้ละเอียดชัดเจน

     

     

    สรุปโดย

    อรภาริน  อ่อนกอ