คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง

คณะศิลปศาสตร์

จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง สาขาวิชาภาษาไทย

วาเรศ รัตนวิสาลนนท์
วาเรศ รัตนวิสาลนนท์ (รุ่น 2) ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจต่างประเทศ บริษัท เบญจกายา จำกัด
Read More
“สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ไม่เพียงแต่จะสอนรากฐานและพื้นฐานของภาษา แต่ยังสอนให้รู้จักการใช้ภาษาอย่างมีศาสตร์และศิลป์ มีวิชาเรียนที่ให้เลือกมากมายตามความสนใจ เนื้อหามีความทันสมัย สามารถนำความรู้ไปต่อยอดและประยุกต์ใช้ในบริบทต่าง ๆ ได้ ตลอดจนคณาจารย์และบุคลากรที่มีความใส่ใจในนักศึกษา จึงทำให้คณะนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นที่เพาะบ่มความรู้ แต่ยังเปรียบเสมือนบ้านหลังที่สองของพวกเราอีกด้วย”
สัมฤทธิ์  จิวระประภัทร์
สัมฤทธิ์ จิวระประภัทร์ข้าราชการครู
Read More
“ได้เรียนรู้แนวคิด ทัศนคติ รวมทั้งวิธีการในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ผ่านแบบฝึกหัด กิจกรรม และโครงการต่างๆ ที่คณาจารย์มอบให้ ซึ่งในฐานะคุณครูก็ได้นำเอาสิ่งดี ๆ ที่ได้รับมาถ่ายทอดให้กับนักเรียน ให้กับลูกศิษย์ให้สามารถค้นพบตัวเอง เป็นตัวของตัวเอง และใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข”
ดร. มุทิตา มากวิจิตร์
ดร. มุทิตา มากวิจิตร์ (รุ่น 1) อาจารย์ นักวิชาการอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม ที่ปรึกษาด้านงานวิจัย บริษัท JuAm Herb and Health Co.,Ltd
Read More
“ภายหลังสำเร็จการศึกษาจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สาขาวิชาภาษาไทย ได้นำองค์ความรู้มาต่อยอดและนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในเรื่องการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ปริญญาเอก และนำไปต่อยอดในการประกอบอาชีพทางด้านวิชาการได้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำทักษะความรู้ด้านการใช้ภาษาไทยมาใช้ในการสื่อสารให้เกิดประสิทธิภาพ ทั้งทักษะการเขียน ทักษะการพูด และทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ ทำให้สามารถสื่อสารและถ่ายทอดองค์ความรู้ของตนเองสู่สาธารณชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความภาคภูมิใจของตนเองที่ทุกครั้งเวลามีโอกาสไปบรรยายให้นักศึกษาแต่ละมหาวิทยาลัยฟัง จะกล่าวเสมอว่า “ตนเองจบการศึกษาจากสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ความรู้เกี่ยวกับการเขียนบทความวิชาการที่จะมาบรรยายในวันนี้ ได้มาจากสถาบันแห่งนี้ทั้งหมด”
ผศ.ดร.กมลพัทธ์  ใจเยือกเย็น
ผศ.ดร.กมลพัทธ์ ใจเยือกเย็น (รุ่น 2) อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
Read More
“รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้เรียนจบจากสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตลอดระยะเวลา 4 ปี ที่ได้รับทั้งองค์ความรู้และประสบการณ์จากอาจารย์ทุกท่าน อาจารย์ในสาขาดูแลอย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ โดยให้การดูแล ทางด้านการเรียนและการดำรงชีวิต อบรม สั่งสอนให้นักศึกษาทุกคนเสมือนลูกของตนเอง ความรู้ที่ได้รับตลอดระยะเวลา 4 ปี เป็นองค์ความรู้พื้นฐานต่อยอดสำหรับการเรียนต่อและทำงานได้เป็นอย่างดี รุ่นพี่และรุ่นน้องรักใคร่กลมเกลียว มีการจัดกิจกรรมร่วมกัน ทำให้รู้สึกอบอุ่นเปรียบเสมือนทุกคนคือครอบครัวเดียวกัน จึงทำให้การเรียนตลอดระยะเวลา 4 ปี ในสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เต็มไปด้วยความสุขค่ะ”
สุพัชชา ตรงต่อกิจ
สุพัชชา ตรงต่อกิจ(รุ่น 2) ข้าราชการครู
Read More
“การเรียนรู้ทั้งทางศาสตร์และศิลป์ของเนื้อหาวิชา ตลอดจนเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ จากกิจกรรมนอกห้องเรียน ได้หลอมรวมจนเป็นศักยภาพที่แฝงไว้ในตัวเรา จนวันที่ได้เป็นครู จึงค้นพบว่าตัวเราถูกบ่มเพาะมาอย่างดี ได้แสดงศักยภาพที่มีและส่งต่อได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นเป็นงานอะไร เราแทบจะได้ทดลองทำมาหมดแล้วในชั้นเรียน”
จิตติขวัญ ภู่พันธ์ตระกูล
จิตติขวัญ ภู่พันธ์ตระกูล(รุ่น 3) อาจารย์ประจำหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
Read More
“รู้สึกภูมิใจและดีใจมากที่ได้เรียนที่สาชาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่นี่มีทั้งอาจารย์และเพื่อนที่ดี มีรุ่นพี่และรุ่นน้องที่น่ารัก รู้สึกอบอุ่นใจทุกครั้งที่ได้กลับไปที่คณะค่ะ ตอนที่เรียนเราได้องค์ความรู้ภาษาไทยอย่างครบถ้วน อาจารย์ส่งเสริมให้เราได้เรียนรู้ทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติจริง ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ทุกวันนี้ก็สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนตลอด 4 ปีไปใช้ในการทำงานได้โดยตรง ทั้งการสอนนักศึกษาและการทำงานวิชาการต่าง ๆ ด้วยค่ะ”
ณัฏฐ์สิชา บริสุทธิ์รดากุล
ณัฏฐ์สิชา บริสุทธิ์รดากุล (รุ่น 3) Assistant Manager Social Media Content : Digital Marketing บริษัท Workpoint Entertainment
Read More
“ตั้งแต่เรียนจบมาจนถึงการทำงานในปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 10 ปีได้แล้ว ตลอด 10 ปีในแวดวงการทำงาน ได้ใช้ทักษะจากการเรียนรู้ในหลักสูตรวิชาต่าง ๆ ของคณะ แทบจะครบทุกศาสตร์ ที่แน่ ๆ เราได้ภาษีพื้นฐานการพูด ฟัง อ่าน เขียน ที่รู้สึกได้ว่ามีมากกว่าคนอื่น ๆ ในสังคมทำงาน ยิ่งไปกว่านั้นคือ การคิด วิเคราะห์ต่าง ๆ ที่เราสามารถคิดได้แบบมีระบบ และกลั่นกรองออกมา สื่อสารออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสมฐานะความเป็นศิลปศาสตร์ งานที่ทำอยู่ตอนนี้เป็นสาย Content Creator เราจะต้องคิดคอนเทนต์ต่าง ๆ เพื่อโปรโมตงานของแบรนด์ที่เรารับผิดชอบอยู่ของลูกค้า ทั้งหมดนี้ต้องคิดคอนเซ็ปต์ ต้องคิดเนื้องาน รวมถึงการสื่อสารออกมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น วิดีโอ ภาพ แม้กระทั่งแคปชั่น ทั้งหมดนี้ต้องใช้ทักษะภาษาเพื่อการสื่อสารแทบทั้งหมดเลย เลยรู้สึกได้เลยว่า ที่เรียนมาได้ใช้แบบจริงจังค่ะ”
กมลกานต์ ธนบุญสถิต
กมลกานต์ ธนบุญสถิต(รุ่น 4) Digital Content Editor เว็บไซต์ Dek-D.com
Read More
“สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ ม.มหิดล ไม่ใช่แค่พื้นที่ที่เข้ามาเรียนแล้วก็ออกไป แต่ทำให้เราใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมที่ดี มีอาจารย์ที่ดี เพื่อนที่ดี และทำให้มี connection ที่ดีจนถึงทุกวันนี้ ถึงจะเป็นเวลาแค่ 4 ปี แต่ก็เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดช่วงหนึ่งของชีวิตค่ะ การเรียนที่นี่ ทำให้เราเข้าใจหลักภาษาและการใช้ภาษา ซึ่งเป็นพื้นฐานของการสื่อสาร สามารถนำไปประยุุกต์ใช้กับงานอะไรก็ได้ โดยเฉพาะงานด้านสื่อสารมวลชน เราจะได้เปรียบคนอื่นมาก ๆ ค่ะ”
ยุทธชัย สว่างสมุทรชัย
ยุทธชัย สว่างสมุทรชัยContent Producer สถานี Salmon Podcast
Read More
“สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีเสาหลักที่เป็นแขนงวิชาทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ภาษาศาสตร์ วรรณกรรม สื่อสารมวลชน และคติชนวิทยา ซึ่งความหลากหลายของความรู้และการปฏิบัติที่คณะได้มอบให้ กลายเป็นทักษะ ‘การปรับตัว’ ชั้นดีต่อโลกแห่งการทำงานจริง จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นงานด้านสื่อมวลชน เอเจนซี่ แบรนด์ หรือคอนเทนต์ออนไลน์ ต่างต้องการคนที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง เปิดกว้างทางความคิด รวมถึงเรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดเวลา คลังความรู้ที่สั่งสมมาตลอด 4 ปี กลายเป็นขุมพลังที่ช่วยให้ ‘ปรับตัว’ ได้เข้ากับทุกสถานการณ์ พร้อมเผชิญและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างสร้างสรรค์ อีกทั้งสนุกและมีความสุขทุกครั้งที่ได้ใช้ความรู้เหล่านั้นในการจัดการสิ่งต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
จันทิมา สว่างลาภ (รุ่น 4)
จันทิมา สว่างลาภ (รุ่น 4)ข้าราชการพลเรือน ตำแหน่งนักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ
Read More
“การได้เรียนที่คณะศิลปศาสตร์ เอกวิชาภาษาไทย ทำให้ได้เรียนวิชาที่ตัวเองชอบ ได้แสดงความสามารถในสิ่งที่ตัวเองเป็น ได้เป็นตัวแทนประกวดพูดสุนทรพจน์ ซึ่งคณาจารย์ให้การสนับสนุนจนได้รับรางวัลระดับประเทศ เมื่อจบการศึกษามาก็ได้ใช้ความรู้ศึกษาต่อระดับปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย และได้สอบเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยทำงานมา 5 ปี ตลอดระยะเวลาที่เป็นอาจารย์ก็ใช้ความรู้ที่เรียนมาสอนนักศึกษาได้อย่างลึกซึ้ง จนได้เปลี่ยนงานมาเป็นข้าราชการพลเรือน ตำแหน่งนักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ ก็สามารถใช้ความรู้ทำงานด้านวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อทางคติชนวิทยา ในการทำงานจนประสบความสำเร็จจนถึงทุกวันนี้ น้อง ๆ ที่มีใจรักภาษาไทย และอยากรับราชการ ได้อย่างมั่นคง เรียนเอกไทยรับรองมีงานทำแน่นอน”
โอมาร์ หวันมุดา
โอมาร์ หวันมุดา(รุ่น 4) Acting Assistant Store Manager บริษัท Sephora Thailand จำกัด
Read More
“เมื่อนึกถึงสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ เราจะ “คิดถึง” บรรยากาศสมัยเรียน คิดถึงรุ่นพี่รุ่นน้องและเพื่อนร่วมรุ่นที่มอบความอบอุ่นให้กันเสมอ เป็นมุมสันทนาการที่ได้จากการเข้ามาเรียนที่สาขานี้ และยังรวมถึงอาจารย์ที่เก่ง ๆ หลายท่าน ทุกคนล้วนเป็นความสัมพันธ์ที่อบอุ่น และน่ารักจนทุกวันนี้ค่ะ สิ่งที่ได้จากการที่เคยได้ก้าวเข้ามาเป็นสาวเอกไทย คณะศิลปศาสตร์ ม.มหิดลนั้น คือ “ทักษะในการสื่อสาร” เพราะทุกวันนี้ ทำงานด้านการขาย ต้องพบปะพูดคุยกับลูกค้า ซึ่งสมัยเรียน ก็ได้เลือกลงวิชาการพูดอยู่บ่อยครั้ง เราได้เอามาปรับใช้จากการที่ได้ลงเรียน เพราะเราจะเห็นวิธีการพูดของคนอื่น ทั้งท่าทาง ความมั่นใจ ซึ่งมีเพื่อน ๆ และอาจารย์ที่เก่ง ๆ เยอะเลย จนสามารถเอาด้านดีของคนเก่ง ๆ มาปรับให้เหมาะกับความเป็นตัวเรา ทั้งยังได้รับคำแนะนำเรื่องการปรับรูปแบบการพูดและวิธีการสื่อสารจากอาจารย์ด้วย จนทำให้เรากล้าพูดกล้าแสดงออกมากขึ้น ใช้ได้กับงานที่เราทำอยู่ทุกวันนี้จริง ๆ และทำให้เราเติบโตในหน้าที่การงานที่ทำอยู่ด้วยค่ะ”
นริศรา หาสนาม
นริศรา หาสนาม (รุ่น 5) อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Read More
“สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปรียบเสมือนจิตรกรสมัยใหม่ที่คอยแต่งแต้มสีสันมุมมองด้านภาษาที่หลากหลาย ตามความถนัด เมื่อจิตรกรเห็นว่างานที่เรากำลังออกแบบเหมาะกับสีใด จิตรกรก็จะลงสีให้เหมาะแก่งานนั้น ไม่ว่าจะเป็นทักษะการใช้ภาษา ภาษาศาสตร์ คติชนวิทยา วรรณกรรมและวรรณคดี หรือหลากสีก็ตาม นอกจากนี้จิตรกรยังเพียรขัดเกลาเก็บสีลงเงาให้คมชัดทุกมิติ ทั้งนี้เพื่อให้เราเข้าใจคน รู้จักการใช้ชีวิตที่สมดุล อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ที่ทำให้ได้พบมิตรภาพอันงดงาม แม้ว่างานจะได้เสร็จสิ้นไปนานเพียงใดแล้วก็ตาม สีที่เคยแต่งแต้มไว้ยังคงอยู่กับเราและใช้พัฒนาต่อยอดในการทำงานและการใช้ชีวิตได้เป็นอย่างดี”
ธนภัทร พิริย์โยธินกุล
ธนภัทร พิริย์โยธินกุล(รุ่น 5) กำลังศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่ภาควิชาภาษาไทย (วรรณคดี) คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Read More
“รู้จัดการบ้านเมืองเครื่องประดับ รู้ตำรับดีร้ายทำนายฝัน รู้สังเกตเท็จจริงทุกสิ่งอัน รู้แก้กันผีสางขับรางควาน หนึ่งรู้เรียนเขียนหนังสือลายมือเอก ลูกคิดเลขนับประมูลคิดคูณหาร รู้วิสัยไตรภูมิพงศาวดาร รู้จักว่านยาสิ้นระบิลไม้ หนึ่งผู้รู้อักษรกาพย์กลอนกล่าว เรียบเรียงราวเรื่องความตามวิสัย รู้กฎหมายฝ่ายขุนนางฝ่ายข้างใน รู้พิชัยสงครามตามกระทรวง” ในนิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณี สุนทรภู่นำเสนอรายชื่อความรู้ห้าสิบประการผ่านคำพูดตัวละครกษัตริย์ผู้ต้องการชุบเลี้ยง “ผู้รู้วิชาสารพัน” หากกล่าวว่าสำนักเรียนโมกขาวนวล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลแห่งนี้ ได้ต่อเติมเสริมสร้างสรรพวิชาเพื่อกอปรก่อ “ผู้รู้วิชาสารพัน” นั้นก็ไม่ใช่คำที่เกินจริง ข้าพเจ้าได้รับการอบรมสั่งสอนจากอาจารย์ว่า “รู้อะไรต้องรู้เหมือนเป็ด” หมายถึง รู้รอบ หลายหลากพร้อมกับการรู้ลึก เพราะการเรียนเอกภาษาไทย ไม่ใช่แค่ “รู้อักษร” “กาพย์กลอน” “รู้ไตรภูมิ” “รู้แก้กันผี” ตามวิถีแห่งการศึกษาวรรณคดีและคติชนวิทยา แต่จะต้องรู้ประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ วิทยาการ และการเมือง – คือรู้เท่าทันโลก ทั้งโลกอดีต และโลกปัจจุบัน เพื่อให้เข้าใจ “มนุษย์” อันเป็นเป้าหมายของการศึกษาในสาย “มนุษยศาสตร์” ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างสรรค์โลกอนาคตบนพื้นฐานแห่งความเป็นไปได้จริง ครูบาอาจารย์ทุกท่านได้หล่อหลอมความ “รู้รอบ” และ “รู้ลึก” ซึ่งเป็นคุณูปการยิ่งต่อการศึกษาในระดับ ป.โท ป.เอก ที่ “ลึก”-“ซึ้ง” ยิ่งกว่า รวมทั้งการนำความรู้ และวิธีการแสวงหาความรู้มาสร้างสรรค์ผลงานวิชาการเพื่อประโยชน์แก่วงวิชาการและสังคม นับว่าคณะศิลปศาสตร์ได้วางรากฐานแห่งการพัฒนาคนให้เป็น “ปัญญาของแผ่นดิน” สมดังปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล
อรอุมา ศิลป์วัฒนานุกูล
อรอุมา ศิลป์วัฒนานุกูล (รุ่น 8) เจ้าหน้าที่พัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน สำนักท่องเที่ยวโดยชุมชน อพท.
Read More
“ศิลปศาสตร์สอนให้ “รู้กว้าง” ในทักษะการใช้ชีวิตศิลปะการใช้ภาษา รวมถึงศิลปะในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น การคิด วิเคราะห์ และแยกแยะสิ่งที่ถูกที่ควร การมีความลุ่มลึกในสิ่ง ต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เราเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นและอยากแบ่งปันมากยิ่งขึ้น เรียนเอกไทย เราได้ความรู้เรื่องภาษาไทย อีกทั้งความรู้รอบในเรื่องวัฒนธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่คณะศิลปศาสตร์ให้ความสำคัญ จึงมีส่วนทำให้การทำงานกับชุมชนเป็นเรื่องง่าย เพราะสิ่งที่ได้จากการเรียนการสอน เหมือนเป็นไกด์ไลน์ล่วงหน้าก่อนลงพื้นที่ และยิ่งทำให้เรารู้สึกสนิทกับชุมชนได้ในเวลาอันรวดเร็ว เพราะเข้าใจความแตกต่างและความหลากหลายทางวัฒนธรรม”
เอกพรรณ เชาว์สิริโชติ
เอกพรรณ เชาว์สิริโชติ(รุ่น 5) Creative Supervisor บริษัท โซนิกซ์ยูธ 1999 จำกัด
Read More
“สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยที่ผมจบมา นอกจากจะให้องค์ความรู้ทางด้านภาษาเพื่อการสื่อสาร ภาษาศาสตร์ วรรณกรรม และคติชนวิทยา ที่ผมได้นำองค์ความรู้จากการเรียนไปประยุกต์ และใช้ประกอบอาชีพของผมแล้ว ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการค้นหาตัวเอง ว่าชอบและถนัดอะไร เนื่องจากมีหลากหลายแขนงวิชา ทั้งวิชาบังคับ และวิชาบังคับเลือก เช่น วิชาการพูดแบบสาระบันเทิง วิชาภาษาไทยในการประชาสัมพันธ์องค์กร วิชาการเขียนสร้างสรรค์ วิชาวัจนปฏิบัติศาสตร์ และวิชาวรรณคดีเอก ฯลฯ ต่างเป็นวิชาที่ฝึกให้เราเป็นคนชอบคิด และวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล และเป็นคนที่มีศักยภาพในการสื่อสารด้วยครับ”
ศรวณีย์ พรมเสน
ศรวณีย์ พรมเสนพิธีกร / ผู้ดำเนินรายการด้านเศรษฐกิจและการลงทุน
Read More
“สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คือแหล่งปูทางสำคัญที่ทำให้ได้ทำงานด้านพิธีกร ผู้ประกาศข่าวจวบจนวันนี้ คณาจารย์ หลักสูตร กิจกรรมที่ทำตลอดการเรียน 4 ปี ต่างเสริมซึ่งกันและกัน ตอนที่เรียนก็ได้มีโอกาสเรียนวิชาพิธีกร ประกวดพูดสุนทรพจน์และเป็นพิธีกรในกิจกรรมโครงการของสาขาวิชาและเป็นพิธีกรงานของคณะเป็นประจำ ทำให้เรามีประสบการณ์ตั้งแต่สมัยเรียน จนทำให้เรามั่นใจในการนำองค์ความรู้ไปต่อยอด สร้างประโยชน์กับสายงานที่เราถนัดให้ออกมาดียิ่งขึ้น ๆ”
อรพรรณ รับคำอินทร์
อรพรรณ รับคำอินทร์(รุ่น 6) เจ้าหน้าที่สื่อสารองค์กร Thai PBS
Read More
“คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหิดล” เป็นพื้นที่ที่เรามีโอกาสได้เรียนรู้ วิชา ทักษะ ประสบการณ์ต่าง ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะทักษะด้าน “ภาษา” “การสื่อสาร” และ “สื่อสารมวลชน” ที่สามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตและการทำงานได้ตลอด รวมถึงเป็นพื้นที่ที่ช่วยทำให้ได้ค้นพบตัวเองจาก “คำแนะนำ” “คำสอน” “ประสบการณ์” ของอาจารย์และรุ่นพี่อีกด้วย มีกิจกรรมสนุก ๆ กับมิตรภาพดี ๆ จากเพื่อน-พี่-น้อง ศิลปศาสตร์ด้วยกัน ถือว่าตลอดระยะเวลา 4 ปี เป็นช่วงเวลาในรั้วคณะศิลปศาสตร์ ที่สนุก เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ “เราเป็นเรา” ในวันนี้ และได้ก้าวเข้าไปทำงานในสิ่งที่ชอบ ถนัด และเหมาะกับตัวเอง
อานนท์ นันตสุคนธ์
อานนท์ นันตสุคนธ์(รุ่น 7) ข้าราชการตำแหน่ง นักสื่อสารมวลชนปฏิบัติการ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์
Read More
“สาขาวิชาภาษาไทยของที่นี่ มีเนื้อหาให้ได้เลือกเรียนหลากหลาย อย่างวิชาเกี่ยวกับการพูด ก็นำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานในด้านการจัดรายการ การเป็นพิธีกร วิชาเกี่ยวกับการเขียนในสื่ออินเทอร์เน็ต ก็นำมาใช้กับการทำงานเขียนคอนเทนต์ในออนไลน์ได้ด้วย ตรงกับงานที่รับผิดชอบอยู่ รวมถึงวิชาเกี่ยวกับวรรณคดี-ก็นำมาประยุกต์กับงานได้ เพราะทำให้เรามีมุมมองต่าง ๆ ที่กว้างขึ้น มีคลังคำมากขึ้น เลือกใช้คำเวลาพูดในบริบทต่าง ๆ มากขึ้นด้วย สมัยเรียนที่คณะเรารู้จักกันเกือบหมด ทั้งนักศึกษา อาจารย์ บุคลากร เลยชอบความอบอุ่นตรงนี้ ปัจจุบันก็ยังติดต่อทั้ง พี่ เพื่อน น้อง ที่รู้จักกันอยู่เสมอ ๆ เป็นรสชาติชีวิตในช่วงวัยหนึ่ง”
กสิกา เทพพิทักษ์
กสิกา เทพพิทักษ์(รุ่น 9) Retail & Training Project Executive L’Oreal (Thailand) Ltd Beauty Blogger ช่อง KOKOwow
Read More
“ดีใจที่เลือกเข้ามาเรียนที่สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ และภูมิใจทุกครั้งที่จะบอกคนอื่นว่าเรียนจบจากที่ไหนมา ช่วงเวลาตลอด 4 ปี มีวิชาที่น่าสนใจมากมาย ที่นี่เปิดโอกาสให้เราได้เลือกเรียนตามความสนใจ เช่น กลุ่มวิชาการพูด อาจารย์จะคอยให้คอมเมนต์เรา บอกข้อดีข้อด้อยต่าง ๆ อย่างละเอียดให้เราได้ไปพัฒนา ฝึกฝนตัวเอง เมื่อเรียนจบมาเราพูดได้เต็มปากเลยว่าทุกวิชาที่เราได้เลือกลงด้วยตัวเอง สามารถนำมาต่อยอด ฝึกฝน จนทำให้เรา มาทำงานถึงจุดนี้ได้ค่ะ”
Previous
Next
คณะศิลปศาสตร์

จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

ศุภัชญา เสทือนวงษ์
ศุภัชญา เสทือนวงษ์รุ่น 11
Read More
เป็นคณะที่เรียนสนุกดี มีอะไรใหม่ๆให้เรียนรู้ตลอดเวลา อาจารย์ในคณะเก่งและใจดีมาก มีวิชาน่าสนใจ สอนทั้งความรู้แล้วก็สกิลต่างๆ เป็นคณะที่อบอุ่นมาก เพื่อน รุ่นพี่ รุ่นน้องน่ารักมากกก
ศรัลพร โปร่งวิทยากร
ศรัลพร โปร่งวิทยากรรุ่นที่ 15
Read More
รู้สึกประทับใจในมิตรภาพที่ได้จากที่นี่ ทั้งเพื่อนๆ และอาจารย์ รู้สึกเหมือนคณะของเราคือบ้านอีกหลังหนึ่ง
นางสาววรพนิต วงษาพรหม
นางสาววรพนิต วงษาพรหมรุ่น 16
Read More
รู้สึกประทับใจในความเอาใจใส่ในการสอนของคณะอาจารย์มากๆค่ะ อาจารย์ทุกท่านที่มีความรู้ ความสามารถในการสอนเรื่องนั้นๆ เป็นอย่างดี นอกเหนือจากความรู้ที่ได้แล้ว นักศึกษาก็ยังสามารถเข้าไปปรึกษา พูดคุยกับอาจารย์ได้เสมอ รู้สึกเหมือนมีคุณแม่อีกคนเลยค่ะ
พงษ์สิทธิ์ ทรัพย์สมบัติ
พงษ์สิทธิ์ ทรัพย์สมบัติรุ่น 17
Read More
ชอบที่คณะศิลปศาสตร์ มหิดลเป็นคณะเล็ก ๆ ซึ่งมีข้อดีคือ รุ่นพี่รุ่นน้องจะสนิทกันและรู้จักกัน ทำให้เวลามีปัญหาการเรียน อยากได้คำปรึกษา หรือปัญหาการใช้ชีวิตในมหาลัย ก็จะสามารถขอความช่วยเหลือจากรุ่นพี่ได้ และด้วยความที่เป็นคณะเล็ก ในแต่ละรุ่นก็จะมีประมาณ 100 กว่าคน (รวมทั้งสองเอก) ทำให้ทั้งรุ่นก็จะรู้จักกันหมด บางครั้งเอกภาษาอังกฤษก็จะไปขอความช่วยเหลือเอกไทย หรือเอกไทยก็มาขอความช่วยเหลือจากเอกภาษาอังกฤษ หากพูดถึงการเรียน พี่ชอบที่ทางคณะมีการปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย มีวิชาที่น่าสนใจมากมายให้เลือกเรียน มีสายการเรียนให้เลือกเรียนด้วยตนเอง ใครจะเรียนสายภาษาศาสตร์ สายวรรณคดี สายแปล สายภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ ก็เลือกได้เลย หรือใครจะผสมผสานสายก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่ถ้าใครเป็นสายกิจกรรมแบบพี่ล่ะก็ ทางคณะและสโมสรนักศึกษาก็มีกิจกรรมที่ให้นักศึกษาเข้าร่วมอยู่มากมายตลอดทั้งปีเลย ไม่ว่าจะเป็น รับน้อง ค่ายคณะ ค่ายอาสา งานประจำปีคณะ งานเปิดบ้านคณะ การประกวดดาว-เดือน และอื่น ๆ อีกมากมาย มาเรียนคณะนี้ได้ทั้งพัฒนาทักษะทางวิชาการแล้ว ยังได้พัฒนาทักษะนอกห้องเรียนจากกิจกรรมเหล่านี้อีกด้วย และพี่มีสิ่งที่ชอบอีกอย่างก็คือ ที่คณะจะมีร้านข้าวแกงร้านนึง ที่เด็ก ๆ คณะศิลปศาสตร์ทุกคนรู้จัก รวมถึงคณะเพื่อนบ้านก็รู้จัก เพราะรสชาติดี อร่อย ราคาถูก ลุงคนขายใจดี ให้เยอะ เป็นร้านที่พี่ฝากท้องไว้เกือบจะทุกวัน ตอนอยู่คณะเลย ใครมีโอกาสมาเรียนที่คณะ ก็อย่าลืมไปลองกันนะครับ สุดท้ายนี้ มาเรียนที่คณะศิลปศาสตร์ มหิดลได้ครบเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน-วิชาการกิจกรรม อาหาร-อิ่มท้อง (ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ) หากท้องไม่อิ่ม เราก็คงไม่สามารถไปทำกิจกรรมหรือไปเรียนได้อย่างเต็มร้อย
อันดา วัชระพิสุทธิ์
อันดา วัชระพิสุทธิ์รุ่น 17
Read More
ด้วยความที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นอีกหนึ่งคณะที่มีการแข่งขันในการเข้าศึกษาค่อนข้างสูง จึงทำให้เราเข้าใจว่าบรรยากาศในห้องเรียนนั้นต้องเคร่งเครียดมากแน่ๆ แต่กลับผิดคาดเนื่องจากเมื่อได้มาสัมผัสบรรยากาศในการเรียนด้วยตัวเองแล้วนั้น ทำให้เราเห็นว่าคณะที่มีการแข่งขันสูงเพื่อเข้าศึกษานั้น ไม่จำเป็นต้องมีบรรยากาศในการเรียนที่แข่งขันกันตลอดเวลาเสมอไป คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทำให้เราได้เห็นภาพของการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนกันระหว่างเพื่อนร่วมชั้นเรียน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความรู้ ความคิดเห็น มุมมอง หรือประสบการณ์ การได้สัมผัสกับสิ่งเหล่านี้ด้วยตัวเอง ทำให้เกิดเป็นความประทับใจที่มีต่อคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลแห่งนี้
กรวินท์ บินกรีม
กรวินท์ บินกรีมรุ่น 16
Read More
“สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยที่ผมจบมา นอกจากจะให้องค์ความรู้ทางด้านภาษาเพื่อการสื่อสาร ภาษาศาสตร์ วรรณกรรม และคติชนวิทยา ที่ผมได้นำองค์ความรู้จากการเรียนไปประยุกต์ และใช้ประกอบอาชีพของผมแล้ว ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการค้นหาตัวเอง ว่าชอบและถนัดอะไร เนื่องจากมีหลากหลายแขนงวิชา ทั้งวิชาบังคับ และวิชาบังคับเลือก เช่น วิชาการพูดแบบสาระบันเทิง วิชาภาษาไทยในการประชาสัมพันธ์องค์กร วิชาการเขียนสร้างสรรค์ วิชาวัจนปฏิบัติศาสตร์ และวิชาวรรณคดีเอก ฯลฯ ต่างเป็นวิชาที่ฝึกให้เราเป็นคนชอบคิด และวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล และเป็นคนที่มีศักยภาพในการสื่อสารด้วยครับ”
Previous
Next