คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ประวัติความเป็นมา

About us

ประวัติความเป็นมา

          คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการบุคลากรที่มีศักยภาพด้านภาษาและด้านศิลปศาสตร์แบบบูรณาการไปปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานต่างๆ ที่ต้องการบุคลากรที่มีความสามารถทางด้านนี้ อันจะช่วยพัฒนาประเทศให้มีความเจริญครบทุกด้าน

และเพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดลที่จะให้ครอบคลุมทั้งด้านวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลจึงมีโครงการผลิตบัณฑิตในสาขาศิลปศาสตร์เพิ่มขึ้นอีกสาขาหนึ่งนอกเหนือไปจากสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับและรู้จักกันดีอยู่แล้ว การจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์ทำให้มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่สมบูรณ์

และเป็นการดำเนินตามพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีในวาระพระราชทานนาม “มหิดล” และได้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 1 มีนาคม 2512 เล่มที่ 86 ตอนที่ 17 ความว่า

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์ จึงให้จัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยขึ้นใหม่เพื่อให้มีขอบเขตดำเนินงานกว้างขวางยิ่งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย 2512 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม “มหิดล” อันเป็นพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ให้เป็นชื่อมหาวิทยาลัยแทนชื่อมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์

ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องตามพระราชดำริของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เกี่ยวกับหน้าที่ของมหาวิทยาลัยในข้อ 3 ที่ว่า

มหาวิทยาลัยมีกิจสอนกุลบุตร ศิลปวิทยาศาสตร เพื่อทำให้ผู้มาเรียนมีความรู้กว้างขวางเห็นเหตุใกล้ไกล และใช้ความคิดที่ได้บังเกิดขึ้นด้วยการเรียนเป็นผลประโยชน์แก่คณะนอกจากนั้นมหาวิทยาลัยอาจจะตั้งโรงเรียนฝึกฝนวิชชาชีพย์บางชนิดที่ต้องมีพื้นศิลปวิทยาศาสตร์

Virtual-tour
ดอกไม้ประจำคณะ: ดอกโมก
สีประจำคณะ: สีขาวนวล (Ivory)

หมายถึง ความสว่างและความอบอุ่น เปรียบได้กับ "ความรู้" (แสงสว่างทางปัญญา) ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่น

**********************

สีขาวนวล: มีที่มาจากสีกายพระสุรัสวดี เทวีแห่งปัญญา สื่อความหมายได้ว่า ปัญญานำไปสู่ความหลุดพ้น (ชื่อ “ โมก ” มีเสียงพ้องกับคำว่า “ โมกข์ ” ในภาษาบาลี หรือ “ โมกษ์ ” ในภาษาสันสกฤต หมายถึงความหลุดพ้น)

ศาสตราจารย์เกียรติคุณพรชัย มาตังคสมบัติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลในขณะนั้นได้เป็นผู้ริเริ่มให้มีคณะศิลปศาสตร์ โดยมีจุดมุ่งหมายให้มีการเรียนการสอนแนวศิลปศาสตร์ (Liberal Arts) ดังเช่นในประเทศสหรัฐอเมริกาที่สอนให้คนมีความรอบรู้ในหลายสาขาวิชาครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านมนุษยศาสตร์ ด้านสังคมศาสตร์ และด้านวิทยาศาสตร์ จึงได้มอบหมายให้ศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุริยา รัตนกุล รองอธิการบดีฝ่ายเสริมสร้างเครือข่ายภายในและระหว่างประเทศในขณะนั้นเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ
About us

พ.ศ. 2546

             กระทั่งได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยมหิดลให้มีโครงการจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์ขึ้นในกำกับมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2546 โดยใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Faculty of Arts ทำหน้าที่ “…ผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ด้านภาษาและมนุษยศาสตร์สาขาต่าง ๆ” โดยมีศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุริยา รัตนกุล ผู้ก่อตั้งคณะศิลปศาสตร์ ดำรงตำแหน่งรักษาการคณบดี

About us

พ.ศ. 2547

            มหาวิทยาลัยมหิดลได้อนุมัติหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยและสาขาวิชาภาษาอังกฤษ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547

 
About us

พ.ศ. 2548

            ได้รับอนุมัติให้โอนย้ายหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ มาจัดการเรียนการสอนที่คณะศิลปศาสตร์ในปี พ.ศ. 2548

About us

พ.ศ. 2552

           ภายหลังจากมหาวิทยาลัยมหิดลปรับเปลี่ยนสถานภาพจากส่วนราชการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มหาวิทยาลัยได้ปรับเปลี่ยนชื่อของส่วนงานจากโครงการจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์เป็น “คณะศิลปศาสตร์” และเห็นชอบให้เปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเป็น Faculty of Liberal Arts เพื่อให้ทำหน้าที่ จัดการศึกษา ทางด้านศิลปศาสตร์ (Liberal Arts Education) ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมอบหมายให้อธิการบดีเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการให้คณะศิลปศาสตร์ เป็น Faculty of Liberal Arts อย่างสมบูรณ์

Funfact

ปัจจุบัน

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีหลักสูตรจำนวน 7 หลักสูตรคือ

  • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย
  • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน (นานาชาติ)
  • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์
  • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ธรรมชาติ และวัฒนธรรม
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • หลักสูตรร่วม Double Degree Program MA (Applied Linguistics) Mahidol University & MA (Japanese Studies) Osaka University

นอกจากนี้ยังรับผิดชอบจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน ภาษาอังกฤษระดับ 1-4 และรายวิชาอื่นๆ ทั้งในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปและเลือกเสรีให้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีทุกคณะในมหาวิทยาลัยมหิดล ผลิตผลงานวิจัยและวิชาการ ให้บริการวิชาการทางด้านศิลปศาสตร์ ตลอดจนมีผลงานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการสร้างเครือข่ายทางวัฒนธรรมร่วมกับชุมชนอย่างต่อเนื่อง

1
หลักสูตรปริญญาตรี
1
หลักสูตรปริญญาเอก
1
หลักสูตรปริญญาโท
1 +
จำนวนนักศึกษาปัจจุบัน
Former Deans

ทำเนียบคณบดีคณะศิลปศาสตร์