คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

บริการสอบนักแปล

ขอความร่วมมือผู้สมัครเข้ารับการประเมินเข้าใช้งานระบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Portfolio) ภายใต้ E-Workforce Ecosystem Platform โดยสามารถคลิกดูรายละเอียดขั้นตอนการใช้งานระบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่นี่

รับสมัครสอบนักแปล

ศูนย์การแปลและการล่าม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดรับสมัครผู้เข้าสอบ นักแปลระดับ 4 (อังกฤษเป็นไทย) ตามมาตรฐานอาชีพสาขาวิชาชีพธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์ อาชีพนักแปลระดับต้น คุณวุฒิวิชาชีพระดับ 4 โดยผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดในมาตรฐานอาชีพ ดังต่อไปนี้

คุณสมบัติผู้สอบ

  1. วุฒิการศึกษาขั้นต่ำระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชา และผ่านการอบรมที่มีเนื้อหาด้านการแปลอย่างน้อย 30 ชั่วโมง หรือเนื้อหาวิชาด้านการแปลในระดับสูงกว่าปริญญาตรี (ไม่นับรวมหลักสูตรใช้เครื่องมือช่วยแปล)
  2. กรณีที่มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ต้องมีผลงานแปลอย่างน้อย 150,000 คำ จากต้นฉบับ และผ่านการอบรมที่มีเนื้อหาด้านการแปลอย่างน้อย 30 ชั่วโมง (ไม่นับรวมหลักสูตรการใช้ เครื่องมือช่วยแปล)

หมายเหตุ น.ศ.ป.โทสาขาการแปล ยื่นทรานสคริปท์ให้ทำเครื่องหมายขีดเส้นใต้คอร์สที่เรียนพร้อมเขียนจำนวนชั่วโมงที่เรียน ครบ30 ชั่วโมง

หลักฐานการสมัคร

  1. แบบฟอร์มการสมัครสอบ/ แบบยื่นคำขอเข้ารับการทดสอบสมรรถนะฯ (กรอกผ่านระบบ TPQI)
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน รับรองสำเนาถูกต้องเพื่อการสมัครสอบนักแปล 1 ชุด
  3. รูปถ่ายไม่เกิน 6 เดือน ขนาด 1 นิ้ว 2 รูป
  4. ประวัติการทำงานปัจจุบัน (resume) 1 ชุด
  5. สำเนาทะเบียนบ้าน รับรองสำเนาถูกต้องเพื่อการสมัครสอบนักแปล 1 ชุด
  6. หลักฐานการศึกษา ได้แก่ สำเนาใบปริญญา และ transcript ระดับปริญญาตรีสาขาวิชาใดก็ได้ และปริญญาโทหรือสูงกว่า (ถ้ามี)
  7. สำเนาประกาศนียบัตร/หนังสือรับรองการผ่านการอบรมด้านการแปล รวมแล้วอย่างน้อย 30 ชั่วโมง
    ไม่นับรายวิชาในระดับปริญญาตรี ในกรณีปริญญาโทหรือสูงกว่า ผู้ที่กำลังเรียนหรือสำเร็จแล้วแสดงหลักฐานผ่านรายวิชาการแปลอย่างน้อย 30 ชั่วโมง
    คอร์สอบรมมีเนื้อหาเป็นไปตามกำหนดของมาตรฐานอาชีพนักแปล สาขาวิชาชีพธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์(สคช) ไม่นับชั่วโมงอบรมด้านเทคโนโลยี/เครื่องมือช่วยแปล การเข้าฟังเสวนา สัมมนา บรรยายที่จัดโดยภาครัฐและเอกชนหรือสถาบันต่าง ๆ
    ถ้าประกาศนียบัตร/หนังสือรับรองคอร์สอบรมไม่ระบุจำนวนชั่วโมง โปรดส่งกำหนดการอบรม/รายละเอียดที่ระบุจำนวนชั่วโมงมาให้ชัดเจน

หมายเหตุ

– หากงานแปลเป็นงานที่เป็นความลับ ไม่สามารถเปิดเผยตัวอย่างงานแปลได้ต้องให้ผู้จ้างเขียนหนังสือรับรองการแปล พร้อมระบุ จำนวนคำที่แปล

– หากงานแปลเป็นงานที่แปลหลายคน ให้ส่งหลักฐานเรื่อง/หัวข้อที่มีชื่อผู้แปล หรือหนังสือรับรองการแปลจากผู้ร่วมแปลหรือผู้จ้างพร้อมระบุจำนวนคำที่แปล โดยส่งตัวอย่างงานแปลมา 1-2 หน้าพร้อมต้นฉบับ

กำหนดวันรับสมัครสอบ
เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2567

สถานที่จัดสอบ
สถานที่จัดสอบ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นครปฐม

การเดินทาง
รถประจำทางที่ผ่าน

Y70E ม.เทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ศาลายา – BTS หมอชิต
สาย 84ก วงเวียนใหญ่ – ศาลายา
สาย 124 สนามหลวง-มหิดล
สาย 388 ปากเกร็ด-ศาลายา
สาย 515 อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ศาลายา
สาย 556 สถานีรถไฟมักกะสัน-วัดไร่ขิง
สาย 547 สวนลุมพินี – บ้านเอื้ออาทร ศาลายา

ติดต่อเจ้าหน้าที่จัดสอบ

อีเมล cb.ticla2020@gmail.com

คำถามที่พบบ่อย

A: สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ(องค์การมหาชน) หรือ สคช. http://tpqi-net.tpqi.go.th/ เป็นผู้ออกใบรับรอง และศูนย์การแปลและการล่าม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นผู้ดำเนินการจัดสอบตามมาตรฐานอาชีพของสคช. โปรดดูรายละเอียดที่เว็บไซต์ https://la.mahidol.ac.th/th/cb-ticla/ 

A: ศึกษาต่อหรือทำงานหรือใช้ประกอบการรับงานแปล ทั้งนี้แล้วแต่หน่วยงานที่นักแปลติดต่อว่าต้องยื่นหลักฐานใบรับรองหรือไม่

A: สอบถามหรือเข้าไปดูเพจหรือเว็บไซต์ของสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยต่างๆที่เปิดอบรมบุคคลภายนอก

A: ผู้สมัครส่งใบประกาศฯและเนื้อหาการอบรมมาให้พิจารณาก่อน เนื้อหาการอบรมเป็นไปตามเกณฑ์สมรรถนะและคอร์สอบรม จัดโดยองค์กรหรือนิติบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือหรือได้รับการรับรองระดับสถาบัน ระดับชาติหรือระดับนานาชาติ

A: ได้ แต่ต้องพิจารณาเนื้อหา วิธีการสอนเทียบเท่ากับสอนออนไซต์ และมีเนื้อหาและจำนวนชั่วโมงตามเกณฑ์คุณสมบัติผู้สมัคร

A: สามารถใช้ได้ โดยส่งใบรายงานผลและทำเครื่องหมายรายการคอร์สการแปลที่เรียนสำเร็จแล้ว มีผลคะแนนแล้ว (ยกเว้นคอร์สหรือหัวข้อเกี่ยวกับเทคโนโลยีการแปล) และแนบหัวข้อ/รายละเอียดคอร์สมาด้วย ตามเกณฑ์คืออย่างน้อย 30 ชั่วโมง จะเป็นคอร์สเดียวหรือรวมกันก็ได้

A: โปรดแนบหลักฐานทุกอย่างเกี่ยวกับการเรียนและผลงานการแปลมาด้วยตามเกณฑ์ที่ระบุ เช่น หน้าปกหนังสือมีชื่อผู้แปลหรือหลักฐานเอกสารอื่นใดระบุว่าเป็นเจ้าของผลงานการแปลนั้น ๆ

A: มีทั้งข้อสอบปรนัยและอัตนัย ส่วนที่เป็นอัตนัยให้พิมพ์ลงในคอมพิวเตอร์ ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกมีสิททธิ์สอบสามารถศึกษารายละเอียดจากวีดิทัศน์ แนะแนวการเตรียมตัวในการสอบนักแปลได้ที่เว็บไซต์ขององค์กร https://la.mahidol.ac.th/th/cb-ticla/ หรือดาวน์โหลด PowerPoint Presentation slides และรายละเอียดเกี่ยวกับหน่วยสมรรถนะที่ใช้ประเมินได้จากไฟล์ มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ ฯ ในเว็บไซต์ขององค์กรฯ

A: ได้ทั้งสองอย่าง แต่ในการสอบสรรถนะนักแปลระดับ 4 สอบแปลอังกฤษ-ไทย

A: การสอบพิมพ์ลงคอมพิวเตอร์ ออฟไลน์ ไม่อนุญาตให้ใช้พจนานุกรมหรือเอกสารใด ๆ โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ขององค์กร https://la.mahidol.ac.th/th/cb-ticla/

A: ผู้สมัครให้หน่วยงานรับรองและขออนุญาตนำส่งตัวอย่างหลักฐานต้นฉบับและฉบับแปล 1-2 หน้า/ 1 งาน โดยขีดฆ่าหรือลบชื่อและข้อความที่เป็นความลับออก องค์กรฯจะคัดกรองหลักฐานโดยตรวจสอบทักษะและความสามารถในการแปล

A: ไม่มี แต่ในอนาคตจะมีวิธีการเทียบโอนประสบการณ์ที่เรียกย่อๆว่า RESK ตามขั้นตอนของสคช. โปรดศึกษารายละเอียดได้ที่ https://tpqi.go.th/search?lang=th&txt=RESK

A: ควรขออนุญาตผู้จ้างเพราะผลงานบางอย่างอาจเป็นข้อมูลความลับไม่สามารถเปิดเผยได้

A: ถ้าเป็นคอร์สที่จัดโดยศูนย์การแปลและการล่าม คณะศิลปศาสตร์ และออกประกาศนียบัตรให้ ปัจจุบันมีคอร์สแบบมีรายได้ ระยะเวลาเพียง 12 ชั่วโมง และจัดเพียงปีละ 1 ครั้ง ส่วนโครงการอบรมแบบไม่มีรายได้โครงการต่าง ๆ ศูนย์การแปลฯไม่ได้ออกประกาศนียบัตรหรือใบรับรองให้และไม่สามารถใช้นำมายื่นเป็นหลักฐานในการสมัครสอบได้ สำหรับคอร์สที่จัดโดยหน่วยงานอื่นนอกเหนือจากนี้ ไม่ทราบข้อมูล

A: ไม่มี (ณ วันที่ตอบคำถาม รายการล้อมวงคุย ครั้งที่ 7 วันที่ 10 กรกฎาคม 2565 จัดโดย สมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย) เพราะศูนย์การแปลและการล่าม ยังไม่เคยจัดสอบมาก่อน การสอบครั้งแรก รอบ 1/65 เริ่มวันที่ 21 กรกฎาคม 2565

A: ผลงานแปล เป็นผลงานที่ผู้แปลใช้ความสามารถและทักษะในการแปลไม่ว่าจะใช้โปรแกรมช่วยแปลหรือไม่ก็ตาม เมื่อผลิตออกมาเป็นชิ้นงานแล้ว สามารถใช้ยื่นสมัครได้ แต่หลักฐานที่ไม่สามารถยื่นสมัครได้ คือหลักฐานการอบรมคอร์สเกี่ยวกับเครื่องมือทางเทคโนโลยี เช่น การใช้ application หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยการแปล

A: ในการสอบ ไม่อนุญาตให้ใช้พจนานุกรม อินเทอร์เน็ตหรือเครื่องมือสื่อสารเทคโนโลยีใด ๆ นอกจากเครื่องเขียนและเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จัดหาไว้ให้ในห้องสอบเท่านั้น เกณฑ์การประเมินเป็นไปตามหน่วยสมรรถนะ มาตรฐานวิชาชีพ

A: ถ้าหมายถึงเนื้อหา ในการสอบ ตามมาตรฐานฯ อาชีพนักแปลระดับ 4 เป็นเนื้อหาทั่วไป

A: ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาในการสอบ องค์กรฯจะแจ้งให้ผู้สมัครสอบ/ผู้มีสิทธิ์สอบทราบทางช่องทางการสื่อสาร รวมทั้งโทรศัพท์ สำหรับในช่วงสถานการณ์โรคระบาด หากผู้สมัครที่อยู่ต่างจังหวัดไม่แน่ใจ อาจจะตัดสินใจรอสมัครสอบในรอบต่อไป

A: สามารถติดตามได้จากช่องทางต่อไปนี้

  • สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ(องค์การมหาชน) หรือ สคช
  • ศูนย์การแปลและการล่าม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • Facebook คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • Facebook สมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย
  • กลุ่มสมาคมนักแปลและล่ามฯ (จำเป็นต้องขอเข้าร่วมกลุ่มก่อน)

A: ผู้ที่สอบผ่านได้รับการรับรองสมรรถนะ จะได้รับประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ หนังสือรับรองมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ และบัตรรับรองมาตรฐานอาชีพรวม 3 ฉบับ

ที่อยู่ของศูนย์ฯ

ศูนย์การแปลและการล่าม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Translation and Interpretation Center, Faculty of Liberal, Arts, Mahidol University (TICLA)
999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

Website: www.la.mahidol.ac.th/th/ticla
Email: ticlamu2015@gmail.com

ติดต่อ

ประธานศูนย์ฯ อาจารย์ ดร.ญาณัชพิมพ์ ภาสวรเวทย์
Tel: 02-441-4401-8
เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ คุณสุภิดา สมานมิตร
Tel: 02-441-4401-8 ext.1733