คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สารจากคณบดี

สารจากคณบดี

ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บไซต์
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

พันธกิจที่สำคัญของคณะศิลปศาสตร์ ประกอบไปด้วยการจัดการศึกษาและการสร้างองค์ความรู้ด้วยการวิจัยที่มีคุณภาพและตอบโจทย์สังคม ดังนี้

1. การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตในทุกระดับ ทั้งปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยปัจจุบันคณะ
มีการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี 3 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 2 หลักสูตร และระดับปริญญาเอก 1 หลักสูตร นอกจากนี้คณะยังจัดการศึกษาหลักสูตร 2 ปริญญาในระดับปริญญาตรี หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน โดยความร่วมมือกับ School of Humanities, Shanghai Jiao Tong University  และระดับปริญญาโทหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ และ MA in Japanese Studies โดยความร่วมมือกับ Center for Japanese Language and Culture, Osaka University ประเทศญี่ปุ่น รวมถึงการจัดการศึกษาในรายวิชาศึกษาทั่วไปและเลือกเสรีสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยมหิดล

2. การวิจัยด้านภาษาศาสตร์ การสอนภาษาและศิลปศาสตร์บูรณาการ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อคุณค่าและการพัฒนามนุษย์ ผลงานวิจัยส่วนใหญ่เกิดจากความเชี่ยวชาญของอาจารย์ในคณะ การประสานความร่วมมือในการทำวิจัยร่วมกันระหว่างสาขาวิชา คณะ ชุมชน และมหาวิทยาลัยทั้งใน และต่างประเทศ

คณะศิลปศาสตร์มีเป้าหมายในการดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล คือ การเป็น “ปัญญาของแผ่นดิน” เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ และก้าว
สู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก (World Class University) อย่างแท้จริงจากการที่มีเป้าหมายที่เข้มแข็ง
ข้างต้น 

Faculty of Liberal Arts

คณบดีคณะศิลปศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิวิชญ์ เลี้ยงอิสสระ

Faculty of Liberal Arts, Mahidol University

Executive Board

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างและพัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตร์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ เพื่อพัฒนาบัณฑิตให้เป็นผู้มีศักยภาพและเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ อีกทั้งมุ่งส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการความรู้ ทักษะจากศาสตร์สาขาต่าง ๆ เพื่อให้เกิดผลงานสร้างสรรค์ พร้อมกับการพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน