คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

MULA Green

ยินดีต้อนรับสู่ MULA GREEN OFFICE

ตามที่ มหาวิทยาลัยมหิดล มีนโยบายส่งเสริมการเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ (Eco-University) และการสร้างค่านิยมความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคม (Corporate Social Responsibility) เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability Development Goals) คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงกำหนดนโยบายในการบริหารจัดการองค์กรให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเป็นสำนักงานสีเขียว (Green office) 

Green Office คืออะไร?

สำนักงานและกิจกรรมต่างๆ ภายในสำนักงาน ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดโดยการใช้ทรัพยากร และพลังงานอย่างรู้คุณค่า มีแนวทางในการจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ เครื่องใช้สำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญจะต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาในปริมาณต่ำ

  • ลดการใช้พลังงาน ทั้งพลังงานไฟฟ้า น้ำ ลดการใช้พลังงานอย่างสูญเปล่าสิ้นเปลือง รวมถึงจะช่วยลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการทำกิจกรรมต่างๆ ภายในสำนักงาน
  • ลดค่าใช้จ่าย เมื่อเราสามารถประหยัดพลังงานได้ ค่าใช้พลังงานต่างๆ เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ก็จะลดลง รวมถึงลดปริมาณการใช้กระดาษภายในสำนักงาน ก็จะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายได้
  • สร้างการมีส่วนร่วม ปลูกจิตสำนึกและการมีส่วนร่วม ตระหนักในการใช้ทรัพยากร รวมถึงแก้ปัญหาการจัดการทรัพยากรต่างๆ เป็นวิธีที่จะช่วยให้รู้จักการใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างยั่งยืน
  • สุขภาพอนามัยที่ดี จากการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในอาคาร ในด้านอากาศ ฝุ่นละออง สารเคมี เชื้อโรคต่างๆ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของพนักงาน

สร้าง Green Office ทำได้อย่างไร?

  • ปิดไฟทุกครั้งเมื่อใช้งานเสร็จ
  • ปิดเครื่องใช้และอุปกรณ์สำนักงานให้ติดเป็นนิสัย
  • ใช้อุปกรณ์สำนักงานที่ประหยัดพลังงานเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • เดินทางมาทำงานโดยระบบขนส่งสาธารณะ หรือแบบ Car Pool ไปทางเดียวกันใช้รถคันเดียวกัน
  • ใช้บันไดแทนลิฟต์ เมื่อต้องขึ้นลง 1-2 ชั้น
  • ใช้สาธารณูปโภคอย่างประหยัด
  • ใช้กระดาษ Re-use กับเอกสารภายในหรือจดหมายภายในองค์กร
  • ใช้แสงจากธรรมชาติ ช่วยในการส่องสว่างภายในสำนักงาน
  • ลดและเลือกเปิด-ปิด เครื่องปรับอากาศอย่างเหมาะสม
  • เน้นการประชุม สีเขียว “Green Meetings”
  • หยุดการใช้ทรัพยากรในการจัดประชุมแบบสิ้นเปลือง

คณะกรรมการดำเนินงาน

ประกาศและนโยบายอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อม

กฎหมายและข้อกำหนดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

ผลการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว

การระบุและประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อม

ผลการใช้ทรัพยากร พลังงานและ ของเสีย

สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

มาตรการการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน คณะศิลปศาสตร์

การประหยัดน้ำประปา 

  • ไม่เปิดน้ำทิ้งไว้โดยไม่จำเป็น
  • หมั่นสังเกต ตรวจสอบก๊อกน้ำหรือท่อน้ำ
  • ใช้น้ำรีไซเคิล รดน้ำสนามหญ้าและต้นไม้

การประหยัดไฟฟ้า 

  • ไม่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชำรุด หมดอายุ และไม่ได้มาตรฐาน
  • ตั้งค่าพักหน้าจอคอมพิวเตอร์ในขณะไม่ใช้งานให้เป็น sleep mode
  • ถอดปลั๊กเครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้า หลังเลิกงานและวันหยุดต่อเนื่อง

เครื่องปรับอากาศ

  • ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศไว้ที่ 25 องศา
  • เวลาเปิด 08:30 – 12:00 และ 13:00 – 16:30

การใช้ลิฟท์

  • ขึ้น-ลงชั้นเดียว ให้ใช้บันไดแทนลิฟต์
  • หาเพื่อนร่วมทางในการใช้ลิฟต์
  • ขึ้นลง 1-2 ชั้น เดินออกกำลังกายแทนการใช้ลิฟต์

การประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง

  • การติดต่อหน่วยงาน ภายในมหาวิทยาลัย ให้ใช้รถรางร่วม หรือจักรยานแทนการใช้รถยนต์ รถจักรยานยนต์
  • ใช้เส้นทางเดียวกัน หรือสถานที่ใกล้เคียงกัน ใช้รถยนต์ร่วมกัน

การประหยัดกระดาษ

  • ใช้กระดาษให้ครบทั้ง 2 หน้า
  • ส่งข้อมูลข่าวสารหรือเอกสารต่าง ๆ ให้เป็น electronic file เพื่อลดการใช้กระดาษ
  • ใช้ QR Code แทนการแจกกระดาษในการประเมินต่าง
  • จัดเก็บเอกสารของหน่วยงานให้เป็น electronic file
  • เปลี่ยนรูปแบบการใช้แบบฟอร์มกระดาษเป็นระบบ electronic เช่น Google form, AppSheet

การลดขยะพลาสติกและขยะโฟม

  • การจัดเลี้ยงอาหาร และเครื่องดื่ม ให้ใช้ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ หรือเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • ใชภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ หรือเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แทนการใช้กล่องโฟม
  • เปลี่ยนการใช้ถุงหูหิ้วพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง มาเป็นถุงผ้าหรือถุงกระดาษ

สร้างแนวคิดและปรับพฤติกรรมการลดขยะด้วยแนวคิด 3R (Reduce Reuse Recycle)

  • Reduce (การลดการใช้)
  • Reuse (การนำกลับมาใช้ซ้ำ)
  • Recycle (นำขยะกลับมาใช้ใหม่)
คณะศิลปศาสตร์

MULA Green Activities

ช่องทางรับข้อร้องเรียนด้านสิ่งแวดล้อม 

1. ออนไลน์ ยื่นข้อร้องเรียนออนไลน์ผ่านหน้าเว็บไซต์โดยคลิกที่ปุ่มด้านล่างนี้

2. อีเมล

arnat.son@mahidol.edu

3. ตู้รับฟังความคิดเห็น

ยื่นข้อร้องเรียนผ่านตู้รับฟังความคิดเห็นที่คณะศิลปศาสตร์จัดไว้ ณ บริเวณชั้น 1 

4. Social Media

Facebook page: LiberalArts.Mahidol
Line: @lamu.pr

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

  • หน่วยอาคารและสถานที่ งานบริหารและธุรการ
  • คุณนายอาณัติ สอนศาตร์
  • โทรศัพท์: 02-441-4401-8 ต่อ 1602