คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

MU Open House สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

การประชุมวิชาการระดับชาติ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2566
เรื่อง “การวิจัยทางสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์ในมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก
(The 7th National Conference on Social Sciences and Humanities Research in World Class Universities)
วันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2566 เวลา 08.30 – 16.30 น.
ณ โรงแรมเอส ดี อเวนิว ปิ่นเกล้า กรุงเทพมหานคร

ขอเชิญนักวิชาการ นักวิจัย นิสิต นักศึกษาและผู้สนใจ ส่งบทความวิจัยและบทความวิชาการ
ที่เกี่ยวข้องกับสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ดังนี้

หมวดสังคมศาสตร์

หมวดมนุษยศาสตร์

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้การวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  2. เพื่อเปิดโอกาสให้คณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษาได้มีเวทีในการนำเสนอผลงานวิจัยและมีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นทางวิชาการร่วมกันกับบุคลากรจากต่างสังกัด
  3. เพื่อประชาสัมพันธ์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากขึ้น
  4. เพื่อประสานความร่วมมือและสร้างเครือข่ายทางวิชาการระหว่างคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กับสถาบันอื่นๆ ต่อไป

รูปแบบการประชุม

ปาฐกถาพิเศษ และแบ่งห้องกลุ่มย่อย เพื่อนำเสนอผลงาน Parallel session

การส่งบทความ

           ส่งบทคัดย่อ (abstract) บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ (full paper) ทั้งในรูปแบบแฟ้มข้อมูลเอกสาร MS Word และ PDF ผ่านระบบรับส่งบทความการประชุมเท่านั้น โดยบทคัดย่อ/บทความของท่านจะได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

รูปแบบบทคัดย่อหรือบทความ

กรณีที่ประสงค์ส่งบทคัดย่อ (abstract)  มีองค์ประกอบ ดังนี้
  1. ชื่อเรื่อง (Title) ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรให้กระชับและตรงกับวัตถุประสงค์และเนื้อเรื่อง
  2. ชื่อผู้เขียน (Author(s)) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์เฉพาะชื่อ นามสกุลเท่านั้น
  3. สถานที่ทำงาน (Institutional Affiliation(s)) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยบอกหน่วยงานที่สังกัด
    ชื่อสถาบัน และตำแหน่ง (ถ้ามี)
  4. บทคัดย่อ (Abstract) ภาษาไทยและบทคัดย่อภาษาอังกฤษ ความยาวแต่ละภาษาไม่เกิน 300 คำ (1 หน้าA4) พร้อมด้วยคำสำคัญ (Keyword (s)) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
กรณีที่ประสงค์ส่งบทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ (full paper) ต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้
  1. ชื่อเรื่อง (Title) ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรให้กระชับและตรงกับวัตถุประสงค์และเนื้อเรื่อง
  2. ชื่อผู้เขียน (Author(s)) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์เฉพาะชื่อ นามสกุลเท่านั้น
  3. สถานที่ทำงาน (Institutional Affiliation(s)) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยบอกหน่วยงานที่สังกัด
    ชื่อสถาบัน และตำแหน่ง (ถ้ามี)
  4. บทคัดย่อ (Abstract) ภาษาไทยและบทคัดย่อภาษาอังกฤษ ความยาวแต่ละภาษาไม่เกิน 300 คำ (1 หน้าA4) พร้อมด้วยคำสำคัญ (Keyword (s)) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  5. เนื้อหาของบทความ (Main text) ความยาวไม่เกิน 10 – 15 หน้าA4 รวมบรรณานุกรมและภาคผนวก ประกอบด้วย
            –  บทนำ (Introduction) ที่ครอบคลุมความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัย ภาพรวมของบทความ พร้อมทั้งเสนอการทบทวนงานวิจัยที่ผ่านมา หรือวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
            –  วิธีการวิจัย (Research Methodology)
            –  ผลการศึกษา (Results) ผลการศึกษาให้บรรยายสิ่งที่ได้จากการวิจัยเป็นสำคัญ พร้อมเสนอข้อมูลในรูปแบบตาราง กราฟ ภาพ หรือ แผนภูมิ ประกอบได้
            –  การอภิปรายผล (Discussion) ควรเชื่อมโยงกับผลการศึกษาว่าสอดคล้องกับสมมติฐานหรือแตกต่างจากผลงานวิจัยที่มีผู้รายงานไว้ก่อนหรือไม่อย่างไร และด้วยเหตุผลใด โดยต้องมีการอ้างอิงที่เชื่อถือได้
            –  สรุป (Conclusion) เป็นการสรุปเรื่องหรือสรุปผลที่ได้จากการวิจัย
            –  เอกสารอ้างอิง (References)

           ทั้งนี้ ใช้รูปแบบของบทความตามตัวอย่างที่แนบมา (ซึ่งประกอบด้วยรูปแบบตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 เว้นระยะขอบกระดาษด้านละ 1 นิ้ว ทุกด้าน และขนาดตัวอักษรของหัวข้อหลัก หัวข้อย่อยเป็นตัวหนา ระยะห่างระหว่างบรรทัด 1 เท่า)

เงื่อนไขการเผยแพร่ผลงาน

  1. ผู้นำเสนอผลงาน สามารถเลือกตีพิมพ์บทความวิจัยหรือบทความวิชาการ (full paper) ที่นำเสนอ
    ในวันประชุมในเอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceeding) ตามเงื่อนไขและข้อกำหนดของ
    กองบรรณาธิการ งานประชุมวิชาการสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 7 หรือ
  2. ผู้นำเสนอผลงาน สามารถเลือกตีพิมพ์ในวารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (The Liberal Arts Journal) ซึ่งได้รับการจัดอันดับอยู่ในวารสารกลุ่มที่ 2: วารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI (จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567) และอยู่ในฐานข้อมูล TCI ที่ยินดีรับพิจารณาบทความ
    อย่างไรก็ตาม การตอบรับการตีพิมพ์บทความจะขึ้นอยู่กับการตัดสินของกองบรรณาธิการวารสารฯ คณะผู้จัดงานประชุมวิชาการสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 7  จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวน การการตอบรับการตีพิมพ์ นอกจากนั้น เงื่อนไข ข้อกำหนดและระยะเวลา อาจมีระยะเวลาการตอบรับตีพิมพ์มากกว่า 3 – 6 เดือน หรือมากกว่านั้น
  3. ทั้งนี้หากผู้นำเสนอผลงานถูกปฏิเสธการตีพิมพ์จากวารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (The Liberal Arts Journal) จะไม่สามารถขอรับการตีพิมพ์ในเอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ ของงานประชุมวิชาการสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 7  ได้อีก

กำหนดการ

กำหนดการสำคัญ วันที่
เปิดรับต้นฉบับบทความเพื่อรับการพิจารณา ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566
ลงทะเบียนพร้อมชำระเงินเข้าร่วมนำเสนอผลงาน ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566
ประกาศผลการพิจารณาตอบรับบทความ ภายในวันที่ 15 มีนาคม 2566
ส่งคืนบทความเพื่อปรับแก้ไข ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 เป็นต้นไป
ส่งบทความที่แก้ไขแล้วกลับมาที่ผู้จัดงาน ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2566
ลงทะเบียนพร้อมชำระเงินเข้าร่วมประชุม โดยไม่นำเสนอผลงาน ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2566
ส่งไฟล์ที่จะใช้นำเสนอในวันงาน วันที่ 10 มิถุนายน 2566
วันประชุมวิชาการ วันที่ 23 มิถุนายน 2566

*** กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม โดยผู้จัดจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ***

อัตราค่าลงทะเบียนต่อคน

ผู้เข้าประชุมวิชาการและนำเสนอผลงาน (Presenter)

ประเภท อัตราค่าลงทะเบียนคนละ (บาท)
นักศึกษาทุกระดับ/สถาบันการศึกษา 800
บุคคลทั่วไป 1,500

ผู้เข้าประชุมวิชาการ (Participant)

ประเภท อัตราค่าลงทะเบียนคนละ (บาท)
ลงทะเบียนและชำระค่าลงทะเบียนล่วงหน้า 800
ลงทะเบียนและชำระเงินค่าลงทะเบียนหน้างาน 1,200

หมายเหตุ:

  1. บทความที่มีผู้นำเสนอผลงานมากกว่า 1 ท่าน ผู้นำเสนอทุกท่านจะต้องทำการลงทะเบียนในฐานะผู้นำเสนอผลงาน ทั้งนี้ สามารถทำการลงทะเบียนหลังจากผู้จัดงานประกาศผลการพิจารณาตอบรับบทความแล้ว
  2. ค่าลงทะเบียนรวมเอกสารประกอบการประชุม อาหารว่าง และอาหารกลางวัน
  3. ข้าราชการ พนักงานรัฐ สามารถเบิกจ่ายค่าลงทะเบียนได้จากต้นสังกัด ตามระเบียบกระทรวงการคลัง <ดาวน์โหลด>

การชำระค่าลงทะเบียน และแจ้งโอนค่าลงทะเบียน

การชำระค่าลงทะเบียน และแจ้งโอนค่าลงทะเบียน

  1. เงินสด (มาชำระด้วยตนเองที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
  2. โอนเงินเข้าธนาคารไทยพาณิชย์ บัญชี กระแสรายวัน ชื่อบัญชี มหาวิทยาลัยมหิดล เลขที่บัญชี 016-3-00325-6 (ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารเท่านั้น) หรือ สแกน QR Code (QR Payment)

            พร้อมแนบไฟล์หลักฐานการโอนเงิน เป็นไฟล์ .pdf หรือ .jpg  และข้อมูลที่ต้องการให้ระบุในใบเสร็จรับเงินผ่านระบบการลงทะเบียนในเว็บไซต์การประชุมเท่านั้น

  1. โอนเงินเข้าธนาคารไทยพาณิชย์ บัญชี กระแสรายวัน ชื่อบัญชี มหาวิทยาลัยมหิดล เลขที่บัญชี 016-3-00325-6 (ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารเท่านั้น) หรือ สแกน QR Code (QR Payment)

หมายเหตุ:

            กรณีผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาผลงานแล้ว มีมติไม่ตอบรับให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการ ผู้จัดงานขอสงวนสิทธิ์ไม่คืนค่าลงทะเบียน เนื่องจากเป็นค่าใช้จ่ายในการพิจารณาผลงาน

            กรณีชำระเงินค่าลงทะเบียนแล้ว ผู้จัดงานจะไม่คืนเงินให้ในทุกกรณีความจำเป็น เนื่องจากเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ยกเว้นแต่ผู้จัดงานเป็นฝ่ายยกเลิกการประชุมเอง

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

งานวิจัยและวิชาการ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โทรศัพท์: 02-441-4401-4  คุณอนัญญา ต่อ 1731 คุณประภาศรี ต่อ 1724

โทรสาร: 02-441-4410

e-mail: mulaconf2023@gmail.com