สวัสดิการนักศึกษา
- การขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร
- ด้านสุขภาพ
- ด้านการให้คำปรึกษา
เกี่ยวกับการเกณฑ์ทหาร
การเกณฑ์ทหารเป็นกฎหมายตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งในทางปฏิบัติพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 กำหนดหน้าที่นี้ให้เฉพาะชายที่มีสัญชาติเป็นไทยตามกฎหมายมีหน้าที่ต้องเข้ารับราชการทหารด้วยตนเองทุกคน ชายไทยเริ่มเป็นทหารกองเกินนับแต่อายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ ทหารกองเกินอาจถูกเรียกไปรับการตรวจเลือกเพื่อเข้ากองประจำการได้เมื่ออายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ ทหารกองเกินเมื่อเข้ารับราชการทหารกองประจำการครบกำหนด หรือสำเร็จการฝึกวิชาทหารตามหลักสูตรที่กระทรวงกลาโหมกำหนด หรือมีอายุครบ 30 ปีบริบูรณ์ จะถูกปลดเป็นทหารกองหนุน เมื่อเวลาผ่านไปหรืออายุครบตามที่กำหนดทหารกองหนุนก็จะถูกปลดพ้นราชการทหาร ในระหว่างที่เป็นทหารกองเกินหรือทหารกองหนุนนั้น อาจถูกเรียกพลได้ตามที่กระทรวงกลาโหมเห็นสมควร และอาจถูกระดมพลได้หากมีพระราชกฤษฎีกา
ชายไทยจำนวนมากไม่ต้องรับราชการทหารกองประจำการเพราะผ่านการเรียนรักษาดินแดนครบสามปี หรืออาจมีเหตุได้รับการยกเว้นหรือผ่อนผันได้ตามที่กฎหมายกำหนดทำให้ไม่ต้องไปรับการตรวจเลือกหรือไปในวันตรวจเลือก แต่ถูกคัดออกเสียก่อน สำหรับผู้ที่ไม่ได้เรียนรักษาดินแดน หรือ เรียนไม่ครบหลักสูตรตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด (ไม่จบชั้นปีที่ 3) หรือ ผ่อนผันครบกำหนดแล้ว จะต้องเข้าสู่กระบวนการตรวจเลือกเข้ากองประจำการเต็มขั้น โดยถูกจำแนกออกเป็นสี่จำพวกตามความสมบูรณ์ของร่างกาย หากมีผู้ประสงค์สมัครใจเข้ากองประจำการเต็มจำนวนที่รับแล้ว ก็จะไม่มีการจับสลาก ส่วนในกรณีที่มีผู้สมัครไม่พอและมีคนให้เลือกมากกว่าจำนวนที่ต้องการก็จะใช้วิธีจับสลากใบดำใบแดง ผู้จับได้ใบแดงจะต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำการ
หน้าที่ของชายไทยทุกคนต้องรับราชการทหาร ซึ่งปกติการเกณฑ์ทหารจะกระทำกันในช่วงเดือน เม.ย. ของทุกปี ปีละครั้งและต้องเข้ารับราชการเป็นทหารเกณฑ์จำนวน 2 ปี แต่มีข้อยกเว้นและผ่อนผันสำหรับผู้ที่เรียนวิชารักษาดินแดน (ร.ด.) หรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับต่าง ๆ ซึ่งกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติรับราชการทหารและกฎกระทรวง
ขั้นตอนการเกณฑ์ทหาร
- การรับหมายเรียก (การรับหมายเกณฑ์) ทหารกองเกินทุกคนเมื่อมีอายุย่างเข้า 21 ปี (20 ปีบริบูรณ์) ใน พ.ศ.ใดต้องไปแสดงตน เพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหารของตน ภายใน พ.ศ.นั้น
- การเข้ารับการตรวจเลือก (การเข้าเกณฑ์ทหาร) ทหารกองเกินเมื่อได้รับหมายเรียกแล้วจะต้องไปเกณฑ์ทหารตามวัน เวลาและสถานที่ที่กำหนดไว้ในหมายเรียก
- การเข้ารับการเรียกพลของทหารกองหนุน ทหารที่ปลดจากกองประจำการโดยรับราชการในกองประจำการจนครบตามที่กฎหมายกำหนด หรือทหารกองเกินซึ่งสำเร็จการฝึกวิชาทหารตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร และได้ขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเป็นทหารกองหนุน เมื่อมีหมายเรียกพล (เพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม) จะต้องไปรายงานตัวเพื่อเข้ารับการฝึก หรือทบทวนวิชาทหารให้มีความรู้ความสามารถพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การลงบัญชีทหารกองเกิน (ขึ้นทะเบียนทหาร)
ชายที่มีสัญชาติไทย เมื่อมีอายุย่างเข้า 18 ปี (17 ปีบริบูรณ์) ใน พ.ศ.ใด ให้ไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน (ไปขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน) ณ อำเภอท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหารของตนภายใน พ.ศ.นั้น (ตั้งแต่ 1 ม.ค.- 31 ธ.ค.) เช่น เกิด พ.ศ. 2524 ต้องไปขึ้นทะเบียนทหารใน พ.ศ. 2541 ผู้ใดไม่สามารถไปขึ้นทะเบียนทหารกองเกินด้วยตนเองได้ ต้องให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะ และเชื่อถือได้ไปแจ้งแทน (ปกติควรให้ผู้ปกครอง) ถ้าไม่ไปแจ้งแทนในปีนั้น ถือว่าหลีกเลี่ยงขัดขืน ทางอำเภอแจ้งความดำเนินคดีมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 300 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ส่งให้พนักงานสอบสวน คือตำรวจเปรียบเทียบปรับไม่ได้ ต้องดำเนินคดีถึงชั้นศาล) เมื่อได้ลงบัญชีทหารกองเกินแล้ว ให้ถือว่าเป็นทหารกองเกินตั้งแต่ วันที่ 1 ม.ค. ของปีถัดไป
การผ่อนผันเกณฑ์ทหาร
ให้นักศึกษานำแบบ สด. 9 ไปขอรับหมายเรียก แบบ สด.35 ณ ที่ว่าการอำเภอตามภูมิลำเนาทหาร แล้วนำมาแสดงตนเพื่อขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร ณ หน่วยกิจการนักศึกษา คณะ/วิทยาลัยเขต/วิทยาเขต ต้นสังกัด ตั้งแต่วันที่ 1-31 ตุลาคม ในวันและเวลาราชการ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.orsa.mahidol.ac.th หรือ
โทร 02-849-4509 ในวันและเวลาราชการ
คุณสมบัติผู้ขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหารและการเข้ารับการเรียกพล
- มีสถานภาพเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล (ปัจจุบัน) ในระดับ ปริญญาตรี – ปริญญาโท
- ชายไทย อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ (วิธีนับอายุ : พ.ศ. เกิด – พ.ศ. ปัจจุบัน = ๒๐ ปี
- กำลังศึกษาอยู่และไม่ได้เรียนหรือเรียนวิชาทหารไม่จบชั้นปีที่ 3
- อายุไม่เกิน ๒๕ ปีบริบูรณ์
หลักฐานประกอบการผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร
- แบบคําร้องขอผ่อนผันเกณฑ์ทหาร (Download ได้ที่ www.orsa.mahidol.ac.th/]
- สำเนาใบสำคัญ (แบบ สด.9) หน้า-หลัง จำนวน 3 ชุด
- สำเนาหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.35) จำนวน 3 ชุด
- สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 3 ชุด
- หนังสือรับรองการเป็นนักศึกษาพร้อมติดรูปนักศึกษา (ออกไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันยื่นหลักฐาน)
เป็นฉบับจริง 1 ชุด และสำเนา 3 ชุด - สำเนาหลักฐานการเปลี่ยน ชื่อ-ชื่อสกุล (ถ้ามี) จำนวน 3 ชุด
- สำเนาใบโอนย้ายภูมิลำเนา (ถ้ามี) จำนวน 3 ชุด
- สำเนาบัตรนักศึกษา จำนวน 1 ชุด
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ชุด
หมายเหตุ: โปรดตรวจสอบ หลักฐาน ข้อ 1–3 ชื่อ-นามสกุล ของผู้ขอผ่อนผัน/บิดา/มารดา ให้ตรงกันด้วย และต้องสำเนาให้ชัดเจนพร้อมลงนามรับรองสำเนาด้วยทุกฉบับ
หลักฐานประกอบการผ่อนผันการเรียกพล
- สำเนาใบสำคัญ (แบบ สด.8) จำนวน 3 ชุด
- สำเนาหมายเรียกพล (ถ้ามี) จำนวน 3 ชุด
- สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 3 ชุด
- สำเนาหลักฐานการเปลี่ยน ชื่อ-ชื่อสกุล (ถ้ามี) จำนวน 3 ชุด
- สำเนาบัตรนักศึกษา จำนวน 3 ชุด
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 3 ชุด
หมายเหตุ: ต้องสำเนาให้ชัดเจนพร้อมลงนามรับรองสำเนาด้วยทุกฉบับ
อื่น ๆ
- เอกสารสำคัญ สำหรับทหาร ที่ชายไทย ที่ต้องรู้
- หน้าที่และสิทธิที่ควรทราบในวันตรวจเลือกทหาร
- คำแนะนำการยกเว้นหรือผ่อนฟันการเข้ารับราชการทหาร
หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมติดต่อ
หน่วยกิจการนักศึกษา งานการศึกษา
ผู้ประสานงาน คุณกัณฐรัตน์ ตะเพียนทอง
OOCA
“OOCA” เป็น platform ปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์ ที่ช่วยให้น้อง ๆ สามารถพูดคุยปัญหากับจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ผ่านทาง Video call โดยเข้าใช้งานได้อย่างเป็นส่วนตัวและปลอดภัย ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ
อีกช่องทางความร่วมมือผ่านโครงการ “Wall of Sharing-กำแพงพักใจ”
โครงการที่จะทำให้น้อง ๆ มีสุขภาวะทางใจที่ดีขึ้น ^^
ก่อนเข้าใช้งานระบบ Ooca ให้นักศึกษาทำตามขั้นตอนนี้ค่ะ
1. นศ. ต้องเข้าไปแสดงความยินยอมเปิดเผยอีเมล์มหาวิทยาลัยก่อน โดยเข้าไปที่ Log in ที่ https://smartedu.mahidol.ac.th/ >สารสนเทศ นศ.> ระบบขึ้นทะเบียนสิทธิฯ >กดยินยอม
2. อีเมล์จะถูกนำเข้าระบบ Ooca ในวันอังคารถัดไป
การใช้งาน Ooca
1.Registerในแอพพลิเคชั่นOoca ด้วย อีเมล์นักศึกษา (อีเมล์ที่ลงท้ายด้วย ac.th )
2.เข้าไปใช้งานนัดหมายกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาในระบบและปรึกษาผ่านวีดีโอคอลได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย
สามารถดูขั้นตอนการใช้งานที่ http://bit.ly/2MGS7jM
**การใช้งานผ่านอูก้าจะเป็นความลับ จะไม่มีการเปิดเผยตัวตนหรือข้อมูลส่วนตัวใดๆ ยกเว้นเพียงกรณีที่มีเหตุอันตรายถึงแก่ชีวิตที่จะระบบจะเปิดเผย id ให้กับเจ้าหน้าที่ทางมหาวิทยาลัยและประสานงานการดูแลเพื่อความปลอดภัยของต่อไปค่ะ
Photo Credit : ooca: Wall of Sharing
สายด่วน MU Hotline
สายด่วน MU Hotline 24 ชั่วโมง (สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล)
โทร. 08 8874 7385 ตลอด 24 ชั่วโมง
Hotline ส่วนงานคณะศิลปศาสตร์
ห้องการศึกษา
ช่วงเวลาให้บริการ 8.30 -16.30 ในวันทำการ
ติดต่อ: 02-441-4215
MU Friends
“MU Friends” หรือ ศูนย์ให้คำปรึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
MU Friends พร้อมให้บริการครอบคลุมพื้นที่ศาลายา และพญาไท
พื้นที่ศาลายา ตั้งอยู่ที่ ศูนย์การเรียนรู้มหิดล ชั้น 3
น้อง ๆ สามารถนัดหมายได้ตามขั้นตอนดังนี้ค่ะ
– นักศึกษาทัก Inbox เพจ หรือ
– เข้าเมนูนัดหมายจากเว็บไซต์ : bit.ly/m/MUF
– ผลการนัดหมาย จะแจ้งทาง E-mail หรือ ทาง Inbox
พื้นที่พญาไท
จ. : คณะวิทยาศาสตร์ (SC) "ห้องประชุม RF3 ตึกเคมี (ตึก C) ชั้น 1"
อ.-พ. : คณะสาธารณสุขศาสตร์ (PH) "อาคารจรัส ยามะรัตน์ (ตึก 4) ชั้น 1"
พฤ.-ศ. : คณะเภสัชศาสตร์ (PY) "ห้องให้คำปรึกษา ชั้น 1 อาคารเทพรัตน์"
ช่องทางการลงทะเบียนนัดหมาย : https://bit.ly/MUF-Phayathai
หมายเหตุ : นักศึกษาคณะ/ วิทยาลัยไหนก็สามารถเข้ารับบริการได้นะคะ ^^
ติดต่อสอบถาม : โทร. 02-849 4538 เวลา 09.00-16.30 น. (ยกเว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์)
ขั้นตอนการแจ้งเหตุเมื่อเกิดเหตุภาวะฉุกเฉินทางด้านจิตใจ
https://op.mahidol.ac.th/sa/wp-content/uploads/2022/05/1-2-calling.jpg