การจัดการความรู้ (KM)
คืออะไร?
ความหมายของการจัดการความรู้
การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในหน่วยงานที่กระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาจัดเก็บให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กรโดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
– ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
– ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่างๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
ความสำคัญของการจัดการความรู้ Knowledge management (KM)
1. ป้องกันความรู้สูญหาย: พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของบุคลากร เช่นการเกษียณอายุทำงาน หรือการลาออกจากงาน ฯลฯ
2. เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ : ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลและสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพ
3. พัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงาน: ผู้ปฏิบัติงานได้เพิ่มพูนความรู้ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ และเกิดการจิตสำนึกในการทำงาน
4. สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน : การจัดการความรู้ช่วยให้องค์กรมีความเข้าใจลูกค้า แนวโน้มของการตลาดและการแข่งขัน ทำให้สามารถลดช่องว่างและเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน
5. ช่วยส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ : การจัดการฝึกฝนบุคลากร จัดเก็บและแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์
6. สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ : การจัดการความรู้สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และนำองค์กรสู่ องค์กรแห่งการเรียนรู้
กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process) เป็นกระบวนการแบบหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงขั้นตอนที่ทำให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้ หรือพัฒนาการของความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้
- การบ่งชี้ความรู้ – เช่นพิจารณาว่า วิสัยทัศน์/ พันธกิจ/ เป้าหมาย คืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องรู้อะไร , ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง, อยู่ในรูปแบบใด, อยู่ที่ใคร
- การสร้างและแสวงหาความรู้ – เช่นการสร้างความรู้ใหม่, แสวงหาความรู้จากภายนอก, รักษาความรู้เก่า, กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
- การจัดความรู้ให้เป็นระบบ – เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้ อย่างเป็นระบบในอนาคต
- การประมวลและกลั่นกรองความรู้ – เช่นปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน, ใช้ภาษาเดียวกัน, ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
- การเข้าถึงความรู้ – เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้นั้นเข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT), Web board ,บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
- การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ – ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็น เอกสาร, ฐานความรู้, เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge อาจจัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน, กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม, ชุมชนแห่งการเรียนรู้, ระบบพี่เลี้ยง, การสับเปลี่ยนงาน, การยืมตัว, เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
- การเรียนรู้ – ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จาก สร้างองค์ความรู้>นำความรู้ไปใช้>เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่องโมเดลปลาประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนตัว และส่วนหาง
ส่วนหัวปลา เรียกว่า KV ย่อมาจาก Knowledge Vision หมายถึงส่วนที่เป็นวิสัยทัศน์ หรือเป็นทิศทางของการจัดการความรู้ กล่าวคือ ส่วนหัวจะทำหน้าที่มองว่ากำลังจะไปทางไหนต้องตอบได้ว่า “ทำ KM ไปเพื่ออะไร”
ส่วนตัวปลา เรียกว่า KS ย่อมาจาก Knowledge Sharing หมายถึงส่วนที่เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจ และเป็นส่วนที่ยากลำบากที่สุดในกระบวนการทำ KM เพราะต้องเกิดจากปัจจัย และสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมให้คนพร้อมที่จะแบ่งปันและเรียนรู้ร่วมกัน
ส่วนหางปลา เรียกว่า KA ย่อมาจาก Knowledge Assets หมายถึงส่วนที่เป็นเนื้อหาความรู้ที่เก็บสะสมไว้เป็น “คลังความรู้” หรือ “ขุมความรู้”
กิจกรรม KM
- ปีงงบประมาณ 2567
- ปีงงบประมาณ 2566
- ปีงงบประมาณ 2565
- ปีงงบประมาณ 2564
- ปีงงบประมาณ 2563
- ปีงงบประมาณ 2562
- ปีงงบประมาณ 2561
- ปีงงบประมาณ 2560
โครงการการจัดการความรู้ Digital KM Masterclass ประจำปีงบประมาณ 2567
กิจกรรมชุมชนนักปฏิบัติ (CoP)
1. การสร้างและประมวลผลด้วย Google Forms
โครงการการจัดการความรู้ Digital KM Masterclass ประจำปีงบประมาณ 2566
กิจกรรมชุมชนนักปฏิบัติ (CoP)
1. เสริมทักษะทางการเงินสำหรับคนวัยทำงาน (จำนวน 3 ครั้ง)
ครั้งที่ 1 สำรวจสถานะการเงิน
ครั้งที่ 2 การฝึกจดบันทึกค่าใช้จ่าย
ครั้งที่ 3 เทคนิคการออม
โครงการส่งเสริมการจัดการความรู้ชุมชนนักปฏิบัติ CoP
- ครั้งที่ 1 สอนออนไลน์ในยุค Digital Disruption “สอนให้ได้ใจผู้เรียน Online Learning Engagement”
- ครั้งที่ 2 การประมวลผลและเทคนิคการนำเสนอ “การเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยโปรแกรม Microseft PowerPoint
- ครั้งที่ 3 เพิ่มพูนทักษะด้านการปฏิบัติงานออนไลน์ด้วยโปรแกรม Cisco Webex และโปรแกรม Zoom
- ครั้งที่ 4 การนำเสนอรายงานด้วยการพูด (Oral Presentation)
- ครั้งที่ 5 การสอนออนไลน์ในยุค Digital Disruption “การวัดประเมินผลให้มีประสิทธิภาพ”
- ครั้งที่ 6 เทคนิคการจัดการสื่อมัลติมีเดียในการเรียนการสอน
- ฮวงจุ้ยดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
- การสร้างแรงบันดาลใจในการเขียน Story Telling
- เทคนิคพิชิต TOEIC 400++
- เขียนขอทุนวิจัยอย่างไรให้…ปัง
- การใช้โปรแกรม Excel ในการคำนวณเบื้องต้น
- การใช้ SPSS for window
- แนวทางการเขียนโครงการเพื่อขออนุมัติหลักการ
- จิตวิทยาการให้คำปรึกษา
- เทคนิคการออกข้อสอบ
- เทคนิคการเขียนรายงานการประชุมอย่างมืออาชีพ
- เทคนิคการสอนนักศึกษา (กลุ่มใหญ่)
- สวัสดิการของพนักงานคณะศิลปศาสตร์ที่ควรรู้
- การใช้ Google Application
- การขอ IRB ในการวิจัย
- กิจกรรมส่งเสริมการจัดการความรู้ KM ครั้งที่ 3 เรื่อง “การปรับปรุง มคอ.3 ตามแนวคิด Outcome Based Education”
- กิจกรรมส่งเสริมการจัดการความรู้ KM ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “จรรยาบรรณที่ต้องปฏิบัติและห้ามปฏิบัติของบุคลากรในมหาวิทยาลัยมหิดล”
- กิจกรรมการจัดการความรู้ (KM) หัวข้อ “การเตรียมเอกสารเบิกจ่ายโครงการ”
- กิจกรรมการจัดการความรู้ (KM) หัวข้อ “การทำวิจัยอย่างไรให้ได้รับการตีพิมพ์ในฐานวารสารนานาชาติ”
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
งานแผนและพัฒนาคุณภาพ
คุณสิริมาส สัมพันธ์อำนวย
โทรศัพท์: 02-441-4401-8 ต่อ 1726
Email: sirimat.sam@mahidol.edu