หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
- หลักสูตรระดับปริญญาตรี
- ภาพรวมของหลักสูตร
- ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร
- เส้นทางความก้าวหน้าของผู้สำเร็จการศึกษา
- ปรัชญาการศึกษาในการบริหารหลักสูตร
- สมรรถนะที่เสริมสร้างให้นักศึกษาของหลักสูตร
- ผลลัพธ์การเรียนรู้ของบัณฑิต
- รายละเอียดของหลักสูตร (มคอ.2)
ชื่อหลักสูตร
(ภาษาไทย) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
(ภาษาอังกฤษ) Bachelor of Arts Program in English
ชื่อปริญญา
(ภาษาไทย) ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ)
(ภาษาอังกฤษ) Bachelor of Arts (English)
ประเภทของหลักสูตร
หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
จำนวนหน่วยกิต
รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 126 หน่วยกิต
ระยะเวลาการศึกษา / วงรอบหลักสูตร
เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี (4 ปี) ตามประกาศของคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565
สถานภาพของหลักสูตรและกำหนดการเปิดสอน
เป็นหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566 จากหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)
เริ่มใช้ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566 เป็นต้นไป
การให้ปริญญา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
สถาบันผู้ประสาทปริญญา (ความร่วมมือกับสถาบันอื่น)
มหาวิทยาลัยมหิดล
เป้าหมาย
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษมีเป้าหมายที่จะผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยมหิดล มีความรู้ ความสามารถทางภาษาอังกฤษในระดับสูงเพื่อประกอบอาชีพ ศึกษาต่อ สร้างสรรค์ประโยชน์ให้กับสังคม
วัตถุประสงค์
หลักสูตรจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างให้บัณฑิตมีคุณสมบัติดังนี้
1. ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ภาษาศาสตร์ภาษาอังกฤษ วรรณกรรมอังกฤษ และการแปล ทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึกที่ทันสมัย เพื่อนำไปประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพหรือเพื่อศึกษาต่อในระดับสูงได้
2. การบูรณาการการเรียนรู้โดยใช้องค์ความรู้และศาสตร์ในสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม
3. การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ทั้งในฐานะผู้นำและสมาชิกของกลุ่ม เคารพความแตกต่างหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม
4. การประยุกต์ใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ค้นคว้าวิจัยและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างถูกต้องตามหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณ
5. คุณธรรม จริยธรรมในฐานะสมาชิกของสังคม รวมถึงมีจรรยาบรรณทางวิชาการ
ลักษณะเฉพาะของหลักสูตร
1. บรรจุองค์ความรู้ภาษาอังกฤษที่ทันสมัยและครอบคลุม ด้านทักษะภาษา วรรณคดี ภาษาศาสตร์ และการแปลทั้งเชิงลึกและเชิงกว้าง เพื่อการประกอบอาชีพในอนาคตการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น และเสริมสร้างความเป็นพลเมืองโลก (Global Citizenship) ด้วยการสร้างสรรค์ประโยชน์แก่สังคมอย่างยั่งยืนผ่านการจัดโครงงานบูรณาการความรู้ภาษาอังกฤษสัมพันธ์กับความต้องการของชุมชน
2. เสนอแผนการเรียนแบบเอก-โท เช่นวิชาโทการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ วิชาโทจิตวิทยา และวิชาโทภาษาที่สามต่าง ๆ และจัดรายวิชาเลือกภาษาอังกฤษที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนได้เลือกตามความสนใจของตนเอง เพื่อต่อยอดองค์ความรู้และเสริมความรอบรู้ด้านศิลปศาสตร์ในเชิงบูรณาการ
3. ส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์ต่างประเทศ (Overseas Experience) ทั้งในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการสื่อสารเช่น ประเทศอังกฤษ และ ออสเตรเลีย และประเทศอื่น ๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลี
ระบบการศึกษา
จัดการศึกษาแบบชั้นเรียนในระบบหน่วยกิตทวิภาค
อาชีพสามารถประกอบได้
1. กลุ่มงานวิชาการ เช่น ผู้สอนภาษาอังกฤษ นักวิชาการ นักพิสูจน์อักษร
2. กลุ่มงานด้านการแปล เช่น นักแปล
3. กลุ่มงานด้านการบริการ เช่น พนักงานในธุรกิจท่องเที่ยว และโรงแรม
4. กลุ่มงานสื่อสารมวลชน เช่น บรรณาธิการ ผู้สื่อข่าว นักเขียน นักสร้างคอนเทนต์
5. กลุ่มงานฝ่ายต่างประเทศ เช่น นักวิเทศสัมพันธ์ ผู้ประสานงานองค์กร
การศึกษาต่อ
ศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาสาขาต่าง ๆ ได้ อาทิ สาขาภาษาอังกฤษ วรรณคดีอังกฤษ วรรณคดีเปรียบเทียบ การแปลและล่าม ภาษาศาสตร์ นิเทศศาสตร์ ครุศาสตร์ ทรัพยากรมนุษย์ การบริหารสารสนเทศ การบริหารธุรกิจ
ปรัชญาการศึกษา
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ จัดการเรียนการสอนตามแนวคิด Constructivism ที่ ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน (Outcome-based education) และตอบสนองความต้องการของชุมชนและสังคม (Community Engagement) โดยคำนึงถึงการเรียนรู้เป็นสำคัญ (Learning-centered approach) เพื่อสร้างบัณฑิตที่มีคุณลักษณะสอดคล้องมาตรฐานการอุดมศึกษาปี พ.ศ. 2565 และคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยมหิดล และเพื่อให้บัณฑิตสามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีทักษะการเรียนรู้และความสามารถในการบูรณาการความรู้ด้านภาษาอังกฤษกับศาสตร์อื่น ๆ มีทักษะความเป็นผู้นำ เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก มีวิจารณญาณ และความคิดสร้างสรรค์ พร้อมทั้งคุณธรรมและจริยธรรม
กลยุทธ์ / แนวปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอน
หลักสูตรฯ มีแนวทางในการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ (Outcome-based Education) โดยได้กำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs) และใช้กลยุทธ์ในการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิด Constructivism หลักสูตรฯ ออกแบบแผนการเรียนที่เริ่มจากรายวิชาระดับพื้นฐานไปสู่ระดับกลางและระดับสูงตามลำดับ เพื่อให้นักศึกษาได้สะสมความรู้จากประสบการณ์ไปทีละขั้น ในส่วนของกลยุทธ์การสอน หลักสูตรใช้กรอบความคิดการเรียนรู้เป็นศูนย์กลาง (Learning-centered approach) โดยจัดให้นักศึกษาเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติและการมีส่วนร่วม (Experiential and Participatory Learning)
กลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรภายใต้หลักการดังกล่าว ได้แก่
1. การบรรยายเชิงปฏิสัมพันธ์ และการอภิปรายหรือสัมมนา เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาเชิงลึกและพัฒนาการคิดวิเคราะห์ และการคิดวิจารณญาณ
2. การสาธิตและการฝึกปฏิบัติโดยมีผู้สอนให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะ เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะที่จำเป็น โดยเฉพาะทักษะด้านการสื่อสารในระดับต่าง ๆ ที่หลักสูตรฯ กำหนด
3. การจัดประสบการณ์การเรียนด้วยฐานการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน การเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา และการเรียนรู้จากการทำโครงงาน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ในสถานการณ์ที่กำหนดได้
4. การเรียนรู้แบบห้องเรียนผสมผสาน เพื่อเสริมสร้างทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ตามความต้องการของตนเองและส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
กลยุทธ์ / แนวปฏิบัติในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
หลักสูตรฯ มีกลยุทธ์ในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ดังนี้
1. สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยใช้วิธีประเมินหลากหลายรูปแบบและครอบคลุมตามระดับการเรียนรู้ เช่น การสอบข้อเขียน สอบปฏิบัติ รายงาน โครงงาน การนำเสนอผลงาน การสังเกตพฤติกรรม และแฟ้มสะสมงาน
2. มีกระบวนการในการสร้าง ตรวจสอบและปรับปรุงเครื่องมือและเกณฑ์ที่ใช้ในการวัดและประเมินผล (Rubrics) ให้มีความเที่ยง (Reliability) และความตรง (Validity) กับผลลัพธ์การเรียนรู้
3. มีการประเมินความก้าวหน้า (Formative evaluation) การประเมินรวบยอด (Summative evaluation) และการประเมินตามสภาพจริง (Authentic assessment)
4. มีการวัดและการประเมินผลที่มีรูปแบบและเกณฑ์ (criterion-referenced assessment) ที่ชัดเจนตามที่ระบุไว้ในประมวลรายวิชา
ความสามารถทั่วไป (Generic Competences)
1. Communication สื่อสารความรู้และความคิด ได้อย่างมี ประสิทธิภาพในทุกสถานการณ์ ทั้งการสื่อสารในชีวิต ประจำวันและ การประกอบอาชีพ
2. ICT: เลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร ศึกษา ค้นคว้าวิจัย ติดตามองค์ความรู้ใหม่โดยสามารถประเมินความต้องการของตัวเองรวมทั้งกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาตนเองเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้
3. Critical Thinking & Analysis ระบุปัญหา รวบรวมข้อมูล ค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจ และประเมินข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ และใช้เหตุผลเพื่อการเรียนรู้ หาคำตอบหรือแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
4. Creativity: สร้างสรรค์ผลงานต้นแบบที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
5. Collaboration: ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่าง เหมาะสม รู้ เข้าใจ เคารพและยอมรับในความ แตกต่างหลากหลายระหว่างบุคคล โดยเฉพาะในด้านสังคมวัฒนธรรม
6. Ethics: ปฏิบัติตนตามกรอบคุณธรรมจริยธรรมที่สมาชิกที่มีคุณค่าของสังคมพึงมี
7. Global Awareness: รู้เท่าทันสถานการณ์สังคมโลก และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน
ความสามารถเฉพาะ (Subject-specific Competences)
1. Knowledge and Theories อธิบายทฤษฎีและความรู้ศิลปศาสตร์ด้านหลักภาษาอังกฤษ ภาษาศาสตร์ภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร วรรณกรรมอังกฤษ การแปล วิเคราะห์ วิจารณ์ และอภิปรายประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อดังกล่าว ทำวิจัยพื้นฐาน และประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อประกอบอาชีพได้
2. Communication: เลือกใช้รูปแบบของการ สื่อสารภาษาอังกฤษที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มบุคคลและสื่อที่แตกต่างกันได้
3. Creativity & Integration: ผลิตงานสร้างสรรค์ทาง ภาษาและ วรรณกรรม บูรณาการความรู้ทางภาษา วรรณกรรม การแปล กับศาสตร์อื่น ๆ เพื่อแก้ไขปัญหา ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้
4. ICT: ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ค้นคว้าวิจัย ติดตามองค์ความรู้ใหม่ด้านหลักภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ภาษาศาสตร์ภาษาอังกฤษ วรรณกรรมอังกฤษ และการแปล โดยสามารถประเมินความต้องการของตัวเอง กำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาตนเองและปรับใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้
5. Collaboration: ประยุกต์ใช้ทักษะภาษาอังกฤษและความรู้ข้ามวัฒนธรรมเพื่อสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เข้าใจ เคารพและยอมรับในความแตกต่างระหว่างบุคคล
6. Ethics: ตระหนักถึงจริยธรรมในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษและการแสดงออกที่เหมาะสมกับบริบทต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน การเรียน และการทำงาน
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program–level Learning Outcomes: PLOs)
PLO1 : สื่อสารด้วยภาษาอังกฤษในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องตามหลักภาษาและเหมาะกับบริบท โดยมีระดับเทียบเท่าหรือสูงกว่าระดับ C1 ในกรอบมาตรฐานการประเมินความสามารถทางภาษา จากประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (CEFR)
PLO2 : วิเคราะห์วิวัฒนาการ การเปลี่ยนแปลงและปรากฏการณ์ของระบบภาษาอังกฤษในฐานะภาษาของโลก ตามหลักความรู้ทางภาษาศาสตร์ระดับต้นและระดับกลาง
PLO3 : วิจารณ์วรรณกรรมภาษาอังกฤษประเภทต่าง ๆ ได้หลากหลายมิติตามทฤษฎีวรรณกรรม
PLO4 : แปลและปรับแก้บทแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องตามหลักทฤษฎีการแปลและจรรยาบรรณนักแปล
PLO5 : ทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายโดยเคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล
PLO6 : ทำโครงงานบูรณาการการเรียนรู้โดยใช้องค์ความรู้และศาสตร์ในสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อสร้างสรรค์ประโยชน์แก่สังคม
PLO7 : ประยุกต์ใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้ตรงตามวัตถุประสงค์และถูกต้องตามหลักจริยธรรม
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของกลุ่มวิชาโท
1. กลุ่มวิชาโทภาษากับการสื่อสารศึกษา: ประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีด้านการสื่อสารเพื่อสร้างสรรค์เนื้อหาและอธิบายปรากฎการณ์การสื่อสารในสังคมได้
2. กลุ่มวิชาโทการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ: ประยุกต์ใช้ความรู้ทางภาษา วัฒนธรรมไทย และหลักการสอนเพื่อการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศได้
3. กลุ่มวิชาโทภาษาอังกฤษ: สื่อสารภาษาอังกฤษในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ถูกต้องตามหลักภาษาและตรงตามบริบท
4. กลุ่มวิชาโทภาษาญี่ปุ่น: สื่อสารภาษาญี่ปุ่นในชีวิตประจำวัน การศึกษา การทำงานได้อย่างถูกต้องตามหลักภาษาและวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่น
5. กลุ่มวิชาโทภาษาจีน: สื่อสารภาษาจีนในสถานการณ์ใกล้ตัวได้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์จีนและตรงตามวัตถุประสงค์
6. กลุ่มวิชาโทประวัติศาสตร์: เชื่อมโยงสาระสำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ได้อย่างถูกต้องตามหลักประวัติศาสตร์
7. กลุ่มวิชาโทจิตวิทยา: ประยุกต์ใช้หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาในชีวิตประจำวันได้ตรงตามวัตถุประสงค์และบริบ
8. กลุ่มวิชาโทปรัชญา : ประยุกต์ใช้แนวคิดทางปรัชญาในบริบทสังคมปัจจุบันได้ตรงตามวัตถุประสงค์
ข้อมูล ณ วันที่ 6 ธันวาคม 2566
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
- รวมค่าธรรมเนียมแรกเข้า สำหรับนักศึกษาใหม่
- รวมค่าธรรมเนียมประจำภาคการศึกษา
- รวมค่าธรรมเนียมเฉพาะหลักสูตร
ทุนการศึกษา
- ทุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล
- ทุนฉุกเฉินมหาวิทยาลัยมหิดล
- เงินยืมสำหรับนักศึกษาที่ขาดแคลน
- ทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา
- ทุนคณะศิลปศาสตร์
- ทุนพัฒนาบัณฑิตที่พึงประสงค์ คณะศิลปศาสตร์
ผลงานรางวัลนักศึกษา สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
เสียงจากศิษย์เก่า สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
บริการการเรียนการสอน
สวัสดิการนักศึกษา
ทุนการศึกษา
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
คู่มือนักศึกษา
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มต่าง ๆ
การฝึกงาน
MU Life Pass
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
- งานการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้
- คุณสมฤทัย
- โทรศัพท์: 02-441-4401-8 ต่อ 1739, 1102