คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
ชื่อหลักสูตร

(ภาษาไทย) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

(ภาษาอังกฤษ) Bachelor of Arts Program in English

ชื่อปริญญา

(ภาษาไทย) ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ)

(ภาษาอังกฤษ) Bachelor of Arts (English)

ประเภทของหลักสูตร

หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ

จำนวนหน่วยกิต

รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๑๔๔ หน่วยกิต

ระยะเวลาการศึกษา / วงรอบหลักสูตร

เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี (๔ ปี) ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ

เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาอังกฤษ พ.ศ. ๒๕๖๐

สถานภาพของหลักสูตรและกำหนดการเปิดสอน

เป็นหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๔ จากหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๑)

เริ่มใช้ในภาคการศึกษาที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ เป็นต้นไป

การให้ปริญญา

ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

สถาบันผู้ประสาทปริญญา (ความร่วมมือกับสถาบันอื่น)

มหาวิทยาลัยมหิดล

เป้าหมาย / วัตถุประสงค์

หลักสูตรมีเป้าหมายที่จะผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถทางภาษาอังกฤษ ในระดับสูงเพื่อไปประกอบอาชีพ และสร้างสรรค์ประโยชน์ให้กับสังคม และผลิตองค์ความรู้เพื่อนำเสนอข้อมูล และแก้ปัญหาด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้กับประเทศ

หลักสูตรจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างให้บัณฑิตมีคุณสมบัติดังนี้

    1. มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะ ในวิชาแกนทางภาษาอังกฤษ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
    2. มีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพในกลุ่มงานด้านวิชาการ กลุ่มงานฝ่ายต่างประเทศ กลุ่มงานแปล กลุ่มงานบริการ และกลุ่มงานสื่อสารมวลชน
    3. มีวิจารณญาณและความคิดสร้างสรรค์ บูรณาการความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษ เพื่อแก้ไขปัญหาและยกระดับคุณภาพชีวิตทั้งของตนเองและผู้อื่นได้
    4. ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ทั้งในฐานะผู้นำและสมาชิกของกลุ่ม เคารพความแตกต่างหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม
    5. มีทักษะการเรียนรู้และเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ใช้เทคโนโลยีได้เพื่อการสื่อสาร การวิจัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างเหมาะสม
    6. มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ
ลักษณะเฉพาะของหลักสูตร
  1. เป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษ ที่เน้นเรื่องการพัฒนาทักษะวิชาชีพ โดยมุ่งเน้น 5 กลุ่มสาขาวิชาชีพ ได้แก่ กลุ่มงานด้านวิชาการ กลุ่มงานฝ่ายต่างประเทศ กลุ่มงานแปล กลุ่มงานบริการ และกลุ่มงานสื่อสารมวลชน
  2. มีรายวิชาหมวดศึกษาทั่วไปและเลือกเสรีในหมวดวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ซึ่งใช้จุดแข็งของมหาวิทยาลัยมหิดลในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพของประเทศ
  3. หลักสูตรได้บรรจุรายวิชาภาษาอังกฤษเฉพาะทาง ซึ่งมุ่งเน้นพัฒนาทักษะในวิชาชีพต่าง ๆ เช่น การบริการ การท่องเที่ยว และการสื่อสารมวลชน
ระบบการศึกษา

จัดการศึกษาแบบชั้นเรียนในระบบหน่วยกิตทวิภาค

อาชีพสามารถประกอบได้
  1. กลุ่มงานวิชาการ เช่น นักวิชาการ นักภาษาศาสตร์ นักพิสูจน์อักษร
  2. กลุ่มงานฝ่ายต่างประเทศ
  3. กลุ่มงานแปล เช่น นักแปล ล่าม
  4. กลุ่มงานบริการ เช่น มัคคุเทศก์ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน
  5. กลุ่มงานสื่อสารมวลชน เช่น นักข่าว ผู้ประกาศ คอลัมน์นิสต์ บรรณาธิการ
การศึกษาต่อ

ศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาสาขาต่างๆ ได้ อาทิ สาขาภาษาอังกฤษ วรรณคดีอังกฤษ วรรณคดีเปรียบเทียบ ภาษาศาสตร์ นิเทศศาสตร์ ครุศาสตร์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง

ปรัชญาการศึกษา

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ จัดการเรียนการสอนตามแนวคิด Constructivism โดยมุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน (Outcome-Based Education) เพื่อบัณฑิตให้มีคุณลักษณะสอดคล้องกับมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาอังกฤษ และคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยมหิดล สื่อสารและแสดงออกทางภาษาได้ดี มีความรู้ความสามารถและทักษะในการบูรณาการความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษกับศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มีทักษะการเรียนรู้และเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก มีวิจารณญาณและความคิดสร้างสรรค์ มีคุณธรรมและจริยธรรม

กลยุทธ์ / แนวปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอน
  1. ใช้การบรรยายเชิงปฏิสัมพันธ์ (Interactive lectures) และการอภิปราย/สัมมนา (Discussion/Seminar) เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาเชิงลึกและพัฒนาการคิดวิเคราะห์ และการคิดวิจารณญาณ
  2. ใช้การสาธิต (Demonstration) และการฝึกปฏิบัติ โดยมีผู้สอนให้คำแนะนำป้อนกลับ (feedback) เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะที่จำเป็น โดยเฉพาะทักษะด้านการสื่อสารในระดับต่าง ๆ ที่หลักสูตรกำหนด
  3. การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem based learning) และการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา (Case-based learning) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ในสถานการณ์ที่กำหนดได้
  4. ใช้การมอบหมายงานกลุ่มและการสังเกตพฤติกรรมเพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนทักษะการทำงานร่วมกับกลุ่มที่หลากหลาย
  5. ใช้การมอบหมายงานและการค้นคว้ารายบุคคล และการเรียนรู้แบบห้องเรียนผสมผสาน (Blended classroom) เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรับผิดชอบและทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง
กลยุทธ์ / แนวปฏิบัติในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา

มีทั้งการประเมินความก้าวหน้า (Formative Evaluation) และการประเมินรวบยอด (Summative Evaluation) โดยใช้วิธีต่าง ๆ เช่น การสอบข้อเขียน สอบปฏิบัติ รายงาน โครงงาน การนำเสนอผลงาน การสังเกตพฤติกรรม และแฟ้มสะสมงาน

Generic Competences
  1. Communication (1): สื่อสารความรู้และความคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกสถานการณ์ ทั้งการสื่อสารในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ
  2. ICT: เลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและสืบค้นได้อย่างเหมาะสม
  3. Critical Thinking & Analysis: ระบุปัญหา รวบรวมข้อมูล ค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจ และประเมินข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ และใช้เหตุผลเพื่อหาคำตอบหรือแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ที่กำหนดได้
  4. Creativity (1): ใช้เทคนิคการคิดสร้างสรรค์แบบต่างๆ
  5. Collaboration: ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม รู้ เข้าใจ เคารพและยอมรับในความแตกต่างหลากหลายระหว่างบุคคล โดยเฉพาะในด้านสังคมวัฒนธรรม
  6. Ethics: แสดงออกซึ่งจรรยาบรรณวิชาชีพและพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมที่สมาชิกที่มีคุณค่าของสังคมพึงมี
  7. Global Awareness: รู้เท่าทันสถานการณ์สังคมโลก และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน
Subject-specific Competences
  1. อธิบายทฤษฎีและความรู้ศิลปศาสตร์ด้านหลักภาษาอังกฤษ ภาษาศาสตร์ภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร วรรณกรรมอังกฤษ วิเคราะห์ วิจารณ์ และอภิปรายประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้อง ทำวิจัยพื้นฐาน และประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อประกอบอาชีพได้
  2. การสื่อสาร (2): เลือกใช้รูปแบบของการสื่อสารภาษาอังกฤษที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มบุคคลและสื่อที่แตกต่างกันได้
  3. Creativity & Integration: ผลิตงานสร้างสรรค์ทางภาษาและวรรณกรรม บูรณาการความรู้ทางภาษา วรรณกรรม กับศาสตร์อื่น ๆ เพื่อแก้ไขปัญหา ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้
  4. Ethics (2): ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษเพื่อวิเคราะห์เหตุการณ์ ปัญหาทั่วไปและทางวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรม และสังเคราะห์แนวปฏิบัติที่เหมาะสม
  5. Lifelong–Learning (2): ติดตามงานวิจัยและองค์ความรู้ใหม่ในด้านหลักภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ภาษาศาสตร์ภาษาอังกฤษ วรรณกรรมอังกฤษ เพื่อสร้างความรู้ใหม่
PLOs

PLO1 ประยุกต์ใช้ภาษาอังกฤษ ทั้งสี่ทักษะ (ฟัง พูด อ่าน เขียน) ในงานด้านวิชาการ งานต่างประเทศ งานแปล งานบริการ และงานสื่อสารมวลชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

PLO2 ประยุกต์ใช้ภาษาอังกฤษเฉพาะทางได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เช่น ภาษาอังกฤษธุรกิจ ภาษาอังกฤษสำหรับสิ่งพิมพ์ ภาษาอังกฤษสำหรับการท่องเที่ยว เป็นต้น

PLO3 ประยุกต์ทฤษฎีการแปลในการแปลเอกสารหรือบทพูดจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ และจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ตลอดจนวิเคราะห์ และแก้ไขบทแปลได้อย่างถูกต้องตามหลักการแปล

PLO4 วิเคราะห์ ตีความและวิพากษ์วรรณกรรมภาษาอังกฤษประเภทต่างๆ ได้

PLO5 ประยุกต์ความรู้ทางภาษาศาสตร์ในการอธิบาย วิเคราะห์ และแก้ไขความผิดพลาดในการใช้ภาษาอังกฤษ และปรากฏการณ์ของภาษาอังกฤษ ได้แก่ สัทศาสตร์ สรวิทยา วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ อรรถศาสตร์ ภาษาศาสตร์สังคม และวัจนปฏิบัติศาสตร์

PLO6 วิพากษ์สถานการณ์และปัญหาของตนเองและสังคมได้อย่างเป็นระบบ โดยประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านศิลปศาสตร์

PLO7 ผลิตงานสร้างสรรค์ด้านภาษาและวรรณกรรมอังกฤษที่มีคุณค่า โดยบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง

PLO8 ประยุกต์ใช้ข้อมูลสารสนเทศในบริบทชีวิตประจำวัน การศึกษา และการประกอบอาชีพ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีจริยธรรม

PLO9 ตระหนักถึงคุณธรรมและจริยธรรมที่เหมาะสมในการศึกษาและการประกอบอาชีพ ในกลุ่มวิชาการ งานต่างประเทศ งานแปล งานบริการ และงานสื่อสารมวลชน

Play Video
คณะศิลปศาสตร์

ค่าธรรมเนียมการศึกษา​

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

฿17,000 / ภาคการศึกษา
  • รวมค่าธรรมเนียมแรกเข้า สำหรับนักศึกษาใหม่
  • รวมค่าธรรมเนียมประจำภาคการศึกษา
  • รวมค่าธรรมเนียมเฉพาะหลักสูตร

ทุนการศึกษา

฿XXXXX / ภาคการศึกษา
  • ทุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล
  • ทุนฉุกเฉินมหาวิทยาลัยมหิดล
  • เงินยืมสำหรับนักศึกษาที่ขาดแคลน
  • ทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา
  • ทุนคณะศิลปศาสตร์
  • ทุนพัฒนาบัณฑิตที่พึงประสงค์ คณะศิลปศาสตร์
คณะศิลปศาสตร์

เสียงจากศิษย์เก่า สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

ศุภัชญา เสทือนวงษ์
ศุภัชญา เสทือนวงษ์รุ่น 11
Read More
เป็นคณะที่เรียนสนุกดี มีอะไรใหม่ๆให้เรียนรู้ตลอดเวลา อาจารย์ในคณะเก่งและใจดีมาก มีวิชาน่าสนใจ สอนทั้งความรู้แล้วก็สกิลต่างๆ เป็นคณะที่อบอุ่นมาก เพื่อน รุ่นพี่ รุ่นน้องน่ารักมากกก
ศรัลพร โปร่งวิทยากร
ศรัลพร โปร่งวิทยากรรุ่นที่ 15
Read More
รู้สึกประทับใจในมิตรภาพที่ได้จากที่นี่ ทั้งเพื่อนๆ และอาจารย์ รู้สึกเหมือนคณะของเราคือบ้านอีกหลังหนึ่ง
นางสาววรพนิต วงษาพรหม
นางสาววรพนิต วงษาพรหมรุ่น 16
Read More
รู้สึกประทับใจในความเอาใจใส่ในการสอนของคณะอาจารย์มากๆค่ะ อาจารย์ทุกท่านที่มีความรู้ ความสามารถในการสอนเรื่องนั้นๆ เป็นอย่างดี นอกเหนือจากความรู้ที่ได้แล้ว นักศึกษาก็ยังสามารถเข้าไปปรึกษา พูดคุยกับอาจารย์ได้เสมอ รู้สึกเหมือนมีคุณแม่อีกคนเลยค่ะ
พงษ์สิทธิ์ ทรัพย์สมบัติ
พงษ์สิทธิ์ ทรัพย์สมบัติรุ่น 17
Read More
ชอบที่คณะศิลปศาสตร์ มหิดลเป็นคณะเล็ก ๆ ซึ่งมีข้อดีคือ รุ่นพี่รุ่นน้องจะสนิทกันและรู้จักกัน ทำให้เวลามีปัญหาการเรียน อยากได้คำปรึกษา หรือปัญหาการใช้ชีวิตในมหาลัย ก็จะสามารถขอความช่วยเหลือจากรุ่นพี่ได้ และด้วยความที่เป็นคณะเล็ก ในแต่ละรุ่นก็จะมีประมาณ 100 กว่าคน (รวมทั้งสองเอก) ทำให้ทั้งรุ่นก็จะรู้จักกันหมด บางครั้งเอกภาษาอังกฤษก็จะไปขอความช่วยเหลือเอกไทย หรือเอกไทยก็มาขอความช่วยเหลือจากเอกภาษาอังกฤษ หากพูดถึงการเรียน พี่ชอบที่ทางคณะมีการปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย มีวิชาที่น่าสนใจมากมายให้เลือกเรียน มีสายการเรียนให้เลือกเรียนด้วยตนเอง ใครจะเรียนสายภาษาศาสตร์ สายวรรณคดี สายแปล สายภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ ก็เลือกได้เลย หรือใครจะผสมผสานสายก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่ถ้าใครเป็นสายกิจกรรมแบบพี่ล่ะก็ ทางคณะและสโมสรนักศึกษาก็มีกิจกรรมที่ให้นักศึกษาเข้าร่วมอยู่มากมายตลอดทั้งปีเลย ไม่ว่าจะเป็น รับน้อง ค่ายคณะ ค่ายอาสา งานประจำปีคณะ งานเปิดบ้านคณะ การประกวดดาว-เดือน และอื่น ๆ อีกมากมาย มาเรียนคณะนี้ได้ทั้งพัฒนาทักษะทางวิชาการแล้ว ยังได้พัฒนาทักษะนอกห้องเรียนจากกิจกรรมเหล่านี้อีกด้วย และพี่มีสิ่งที่ชอบอีกอย่างก็คือ ที่คณะจะมีร้านข้าวแกงร้านนึง ที่เด็ก ๆ คณะศิลปศาสตร์ทุกคนรู้จัก รวมถึงคณะเพื่อนบ้านก็รู้จัก เพราะรสชาติดี อร่อย ราคาถูก ลุงคนขายใจดี ให้เยอะ เป็นร้านที่พี่ฝากท้องไว้เกือบจะทุกวัน ตอนอยู่คณะเลย ใครมีโอกาสมาเรียนที่คณะ ก็อย่าลืมไปลองกันนะครับ สุดท้ายนี้ มาเรียนที่คณะศิลปศาสตร์ มหิดลได้ครบเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน-วิชาการกิจกรรม อาหาร-อิ่มท้อง (ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ) หากท้องไม่อิ่ม เราก็คงไม่สามารถไปทำกิจกรรมหรือไปเรียนได้อย่างเต็มร้อย
อันดา วัชระพิสุทธิ์
อันดา วัชระพิสุทธิ์รุ่น 17
Read More
ด้วยความที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นอีกหนึ่งคณะที่มีการแข่งขันในการเข้าศึกษาค่อนข้างสูง จึงทำให้เราเข้าใจว่าบรรยากาศในห้องเรียนนั้นต้องเคร่งเครียดมากแน่ๆ แต่กลับผิดคาดเนื่องจากเมื่อได้มาสัมผัสบรรยากาศในการเรียนด้วยตัวเองแล้วนั้น ทำให้เราเห็นว่าคณะที่มีการแข่งขันสูงเพื่อเข้าศึกษานั้น ไม่จำเป็นต้องมีบรรยากาศในการเรียนที่แข่งขันกันตลอดเวลาเสมอไป คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทำให้เราได้เห็นภาพของการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนกันระหว่างเพื่อนร่วมชั้นเรียน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความรู้ ความคิดเห็น มุมมอง หรือประสบการณ์ การได้สัมผัสกับสิ่งเหล่านี้ด้วยตัวเอง ทำให้เกิดเป็นความประทับใจที่มีต่อคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลแห่งนี้
กรวินท์ บินกรีม
กรวินท์ บินกรีมรุ่น 16
Read More
“สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยที่ผมจบมา นอกจากจะให้องค์ความรู้ทางด้านภาษาเพื่อการสื่อสาร ภาษาศาสตร์ วรรณกรรม และคติชนวิทยา ที่ผมได้นำองค์ความรู้จากการเรียนไปประยุกต์ และใช้ประกอบอาชีพของผมแล้ว ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการค้นหาตัวเอง ว่าชอบและถนัดอะไร เนื่องจากมีหลากหลายแขนงวิชา ทั้งวิชาบังคับ และวิชาบังคับเลือก เช่น วิชาการพูดแบบสาระบันเทิง วิชาภาษาไทยในการประชาสัมพันธ์องค์กร วิชาการเขียนสร้างสรรค์ วิชาวัจนปฏิบัติศาสตร์ และวิชาวรรณคดีเอก ฯลฯ ต่างเป็นวิชาที่ฝึกให้เราเป็นคนชอบคิด และวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล และเป็นคนที่มีศักยภาพในการสื่อสารด้วยครับ”
Previous
Next

บริการการเรียนการสอน

สวัสดิการนักศึกษา

ทุนการศึกษา

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

คู่มือนักศึกษา

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มต่าง ๆ

การฝึกงาน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

  • งานการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้
  • คุณสมฤทัย, คุณสงบสุข
  • โทรศัพท์: 02-441-4401-8 ต่อ 1739, 1102